กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตลิ่งชันรวมใจควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5179-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อปพร.ตำบลตลิ่งชัน
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2559 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2561
งบประมาณ 260,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อปพร.ตำบลตลิ่งชัน
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ตลิ่งชัน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.969,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10254 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานาน โดยมียุงลายเป็นแมลงนำโรคและนับว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี ซึ่งจังหวัดสงขลาก็มีการระบาดที่ค่อยข้างสูง ตำบลตลิ่งชันเป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน 2,145 หลังคาเรื่อน ประชากร 10,245 คน (ข้อมูลจาก อบต.ตลิ่งชัน ณ เดือนกุภาพันธ์ 2559) มีจำนวนผู้ต้องสงสัย 95 ราย ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 ครั้ง (ข้อมูลจาก รพ.สต.ตลิ่งชัน ณ วันที่ 3 เดือน พฤศจิกายน 2559) มีจำนวนผู้ป่วยจริงจำนวน 31 ราย รายคิดเป็นอัตราป่วย 302.32 ต่อแสนประชากร ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์ระบาดและให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพตลอดจนกระตุ้นเตื่อนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกันชมรม อปพร.ตำบลตลิ่งชัน และ ชมรม อสม.ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มอายุในชุมชน
  1. ลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80 ของกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มอายุในชุมชน
2 2. เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชน การแก้ปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  1. สร้างความร่วมมือในชุมชน ร้อยละ 85 ในการแก้ปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
3 3. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกองค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกองค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ร้อยละ 85 มีตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 252,000.00 0 0.00
23 ธ.ค. 59 - 26 ธ.ค. 60 ค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติการพ่งสารเคมีกำจัดยุงลาย 0 168,000.00 -
23 ธ.ค. 59 - 26 ธ.ค. 60 ค่าน้ำมันดีเซล,น้ำมันเบนซินและน้ำมันหล่อคลื่น 0 84,000.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อพิจารณาเห็นชอบอนุมัติ
  2. ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข อบต. อสม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ให้ อสม. ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและใส่ทรายอะเบท สำรวจค่า HI,CI ในหมู่บ้านดำเนินการทุกๆ 15 วัน
  4. เมื่อพบผู้ป่วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแจ้ง อสม. ร่วมกับ อปพร.และผู้นำในหมู่บ้าน พร้อมแจ้งทีม SRRT เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และชุดปฏิบัติการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย พ่นหมอกควันในรัศมี 100 เมตร โดยพ่น 2 ครั้งระยะห่าง 1 สัปดาห์
  5. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนตาดีกา ได้รับการพ่นหมอกควัน 2 ครั้ง ก่อนการเปิดภาคเรียนที่1/2 ของปีการศึกษา
  6. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
  2. ไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ชุมชนสามารถป้องกัน และครบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. โรงเรียน/ชุมชนมีความเข้าใจ ตระหนักในบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2560 10:44 น.