กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดความตระหนก เพิ่มความตระหนักร่วมกันขจัดภัยมาลาเรีย
รหัสโครงการ 61-L4117-01-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอบรี มณีหิยา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลรอแม กามางิน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.023place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ก.พ. 2561 28 ก.ย. 2561 16,300.00
รวมงบประมาณ 16,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อนำโดยแมลงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมานานกว่า๔๐ปีโดยเฉพาะโรคไข้มาลาเรีย โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ในแต่ละปีจะมีประชาชนป่วยเป็นจำนวนมาก และยังมีโรคติดต่อนำโดยแมลงอื่นๆ ที่กลับมาเป็นปัญหาที่สำคัญในขณะนี้ ได้แก่ โรคมาลาเรียที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ เป็นต้น ประกอบกับเกิดภาวะโลกร้อน เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ชีวนิสัยของยุงเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคขึ้น สำหรับข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ – ตุลาคม ๒๕๖๐ มีจำนวน ๙๖ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๗๖๘.๙๓ ต่อแสนประชากร ( เป้าหมายต้องไม่เกิน ๔๐๐ ต่อแสนประชากร ) ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน สร้างผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจการประกอบอาชีพของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายทางภาครัฐด้านการรักษาพยาบาลส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากมายต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ ทั้งๆโรคนี้เป็นโรคที่ประชาชนสามารถดำเนินการป้องกันได้ ดังนั้น จึงควรมีการดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีความสามารถในเชิงป้องกันการเกิดโรคเหล่านั้นได้ ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในชุมชนนั้น จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา รวมถึงการติดต่อประสานงานเพื่อให้เกิดการระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์จากผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งที่ผ่านมานั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บาละร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพตำบลฯก็ได้ดำเนินการในรูปแบบข้างต้นแล้วระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เกิดประสิทธิภาพและความต่อเนื่องพอในการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคที่เป็นต้นเหตุได้ อาทิ ปัญหาการจัดการกับปัจจัย Host , Agent , Environment นี้ยังไม่เป็นระบบและยังไม่เกิดความเสถียรภาพพอ จึงทำให้เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคนี้ขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจวบจนทุกวันนี้ได้ ซึ่งเหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพหรือภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละโดยตรง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนได้ จากปัญหาข้างต้นนี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ ได้เล็งเห็นถึงภัยสุขภาพของประชาชนที่เป็นประจักษ์แล้วนั้น จึงได้จัดทำโครงการลดความตระหนก เพิ่มตระหนัก ร่วมกันขจัด ภัยมาลาเรียปี 256๑ นี้ขึ้น เพื่อหาแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละนี้ ตลอดจนนำไปสู่การมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างถ้วนหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อสร้างเสริมทักษะและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและเฝ้าระวังโรคมาลาเรียในชุมชน

 

0.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความตระหนักการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังของโรคมาลาเรียในชุมชน

 

0.00
3 ๓. เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังของโรคมาลาเรียในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,300.00 1 16,300.00
28 ก.พ. 61 - 28 ก.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ฯแก่กลุ่มเป้าหมาย 0 16,300.00 16,300.00

วิธีดำเนินการ
  ระยะเตรียมการ ๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจนในระดับชุมชน ๔. จัดทำป้ายโครงการฯ
  ระยะดำเนินการ ๕. ดำเนินการอบรมให้ความรู้เสริมทักษะเกี่ยวกับการการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชน แก่ กลุ่มเป้าหมาย ๖. ประเมินผลเชิงคุณในการอบรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการบรม
  ระยะหลังดำเนินการ/สรุป ๗. ประเมินผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขเพื่อการปรับใช้ในการดำเนินงานในครั้งต่อไป ๘. สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมทั้งหมด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ     - กลุ่มเป้าหมายมีทักษะและความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สามารถดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคมาลาเรียในชุมชนได้
- ชุมชนมีความตระหนักในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้นในการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังของโรคมาลาเรียได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2561 11:21 น.