กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
รหัสโครงการ 61-L4152-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กรกฎาคม 2561 - 26 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 25,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอกีเยาะ เซ็งมีดี
พี่เลี้ยงโครงการ นายประพันธ์ สีสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.5,101.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ก.ค. 2561 26 ก.ค. 2561 25,300.00
รวมงบประมาณ 25,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การอนามัยโลก ระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรค NCDs ๖๓% และที่สำคัญเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาถึง ๘๐% ขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกถึง ๑๐% และสูงกว่าทุกประเทศในโลก และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่กลุ่มโรค NCDs เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยที่หลีกเลี่ยงและป้องกันได้ ปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพบผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ และเชื่อว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พิจารณาจากอัตราน้ำหนักตัวของประชากรที่อยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐานมีจำนวนเพิ่มขึ้น ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่จะทำให้เกิดกลุ่มโรค NCDs ขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนที่จะเกิดโรค โดยอาหารถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด สามารถปรับโดยการลดหวาน มัน เค็ม บริโภคให้ครบ ๕ หมู่ และ ควรลดหรือเลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดหลายโรคเช่นกัน เพิ่มการออกกำลังกาย และหากิจกรรมคลายเครียด ก็จะเป็นวิธีป้องกันกลุ่มโรค NCDs ได้อย่างดี จากผลการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะปีงบประมาณ ๒๕๖๑ในกลุ่มประชาชนอายุ ๓๕ ขึ้นไปจำนวน๑,๙๒๘ คนพบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๗๘๐ คนคิดเป็นร้อยละ ๔๐.๔๕ % กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน ๕๒ คนคิดเป็นร้อยละ ๒.๖๙% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ เน้นการป้องกันให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลตนเองเพื่อไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย และเพื่อให้กลุ่มป่วยสามารถควบคุมอาการตนเองและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ โดยเน้นการดำเนินงานโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการกระตุ้นและสร้างกระแส ให้ประชนในพื้นที่ตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่องจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

0.00
2 เพื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

0.00
3 เพื่อสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,300.00 1 25,300.00
26 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค,การเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ 0 25,300.00 25,300.00
  1. จัดทำแผนรณรงค์
  2. ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย
  3. ออกตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพโดยการสัมภาษณ์ การสูบบุหรี่การรับประทานอาหารการออกกำลังกาย และการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงหาดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว และภาวะซึมเศร้า
  4. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
  5. ดำเนินการจัดกิจกรรม 5.1 อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง 5.2 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  6. รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2561 11:39 น.