กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน
รหัสโครงการ 61-L4152-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 เมษายน 2561 - 19 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอกีเยาะ เซ็งมีดี
พี่เลี้ยงโครงการ นายประพันธ์ สีสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.5,101.389place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 19 เม.ย. 2561 19 เม.ย. 2561 16,400.00
รวมงบประมาณ 16,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขใช้การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นกลวิธีและหลักสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้ ด้วยวัคซีนโดยบรรจุไว้ใต้แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการให้วัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานเข้ากับการบริการสาธารณสุขตามระบบปกติ โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นโรคที่ค่อย ๆ หายไปจากประเทศไทยเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนของระบบสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น โดยความสำเร็จของวัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนนั้นขึ้นกับองค์ประกอบสำคัญ ๒ ประการ คือ ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน (Vaccine coverage) สูง และประสิทธิผลของวัคซีน (vaccine effectiveness) ดีจากผลการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ หมวดงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเด็กอายุ๐-๕ ปี ตำบลกอตอตือร๊ะอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ พบว่า จำนวนเด็ก ๐-๕ปี ทั้งหมด ๓๔๑ คน ได้รับวัคซีน ๒๗๘คน คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๘๑ม ซึ่งความครอบคลุมการได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ประกอบกับผู้ปกครองขาดความรู้ ทัศนคติในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนและในปัจจุบันยังคงเกิดสถานการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินงานในเชิงรุกส่งผลให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความครอบคลุมไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาแก้ไขอย่างเร่งด่วน หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะ ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกอตอตือร๊ะเห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กอายุ ๐ – ๕ ปีจึงจัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดี เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศชาติต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อผู้ปกครองเด็ก ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม.มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนมากขึ้น

 

0.00
2 เพื่อผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น

 

0.00
3 เพื่อเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุ

 

0.00
4 เพือไม่เกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,400.00 1 16,400.00
20 พ.ย. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนและกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 16,400.00 16,400.00
  1. เก็บรวบรวมข้อมูลความครอบคลุมการได้รับวัคซีน เด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบ
  2. วิเคราะห์ปัญหาจัดทำโครงการเพื่อเสนองบประมาณและขออนุมัติโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. ประสานงานติดต่อวิทยากร
  5. จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ 6.ดำเนินการจัดกิจกรรม 6.1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีน 6.2 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7.จัดระบบติดตามเชิงรุกแบบเข้มข้นโดยใช้กลไกDHS 8.สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็ก ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม.มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนมากขึ้น
  2. ผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
  3. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุ
  4. ไม่เกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2561 15:07 น.