กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ลดการเผา และแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟ
รหัสโครงการ 61-L8413-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบาลอ
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2018 - 31 สิงหาคม 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2018
งบประมาณ 7,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดียานา ประจงไสย
พี่เลี้ยงโครงการ นายรูสลาม สาร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.448,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 มิ.ย. 2018 5 มิ.ย. 2018 7,200.00
รวมงบประมาณ 7,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โดยทั่วไปช่วงหน้าแล้งหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต มักจะพบว่ามีการเผาตอซัง ฟางข้าว และเศษพืชที่เหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร เพราะเห็นว่าเป็นวิธีการที่สะดวก รวดเร็ว ในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกครั้งต่อไป โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่ตามมาทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การเผาตอซังจะทำให้ดินเสื่อมโทรม ธาตุอาหารและสิ่งมีชีวิตในดินถูกทำลาย ส่วนการเผานั้นอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป แต่จะเผาด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ จะส่งผลกระทบต่อดินทั้งสิ้น ทั้งทำลายอินทรีย์ วัตถุและธาตุอาหารในดิน ทำลายโครงสร้างดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชลงอย่างต่อเนื่องทุกปี โครงสร้างดินอัดแน่นเสียหายเกิดการอิ่มตัวของน้ำเร็วขึ้น เก็บน้ำได้น้อยไม่ทนแล้ง การระบายน้ำได้น้อย ช่องว่างของอากาศไม่เพียงพอ ดินแข็งมากขึ้น ไถเตรียมดินได้ตื้นขึ้น หน้าดินน้อยลงและรากพืชแทงทะลุได้ยากขึ้น การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ผลผลิตต่ำ. ทำลายแมลงควบคุมศัตรูพืช และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินทำให้ปริมาณของจุลินทรีย์ลดลง เช่น การเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ การแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ และการย่อยสลายอินทรีย์สารเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน นอกจากนั้นตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืชและจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกทำลายไป ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุลทำให้การแพร่ระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น สูญเสียน้ำในดิน คือการเผาตอซัง ทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศา ทำให้น้ำในดินระเหยสู่บรรยากาศความชื้นลดลง ก่อให้เกิดเขม่าควันฝุ่นละอองก๊าซพิษส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลของธรรมชาติ ทั้งนี้ หากมีการเผาฟางข้าวปีละครั้งทั่วประเทศ 60 ล้านไร่ จะก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 27 ล้านกิโลกรัมคาร์บอน การปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจน 462 ล้านกิโลกรัมไนโตรเจน ฝุ่นละออง 100 – 700 ล้านกิโลกรัมต่อไร่ ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกเป็นสาเหตุของการทำให้โลกร้อนและเกิดภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงมากขึ้น
จากผลเสียหายที่ตามมาเทศบาลตำบลบาลอ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและประชาชนได้รับรู้ถึงผลกระทบของการเผาทุ่งนาหรือเผาตอซัง ฟางข้าว เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประชาชนเองในระยะยาว ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเผาทุ่งนาหลังฤดูเก็บเกี่ยว

 

0.00
2 เพื่อลดมลพิษจากการเผาทุ่งนาหรือตอซัง ฟางข้าวในสิ่งแวดล้อม

สถิติของการเผาทุ่งนา

0.00
3 ลดภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10.00 1 7,200.00
1 พ.ค. 61 - 29 มิ.ย. 61 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์วางไว้ตามจุดต่างๆจำนวน3 จุด 0 10.00 7,200.00

๑. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ 3. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรในชุมชน
3. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์วางไว้ตามจุดต่างๆจำนวน 3 จุด ๔. ปฏิบัติตามโครงการและรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. การเผาทุ่งนาหลังฤดูการเก็บเกี่ยวลดน้อยลง ๒. มลพิษจากการเผาตอซังและฟางข้าวในสิ่งแวดล้อมลดลงและลดภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2018 11:00 น.