กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L3353-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโตระ
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศุภญา ทองขาวเผือก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตำนาน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.572,100.083place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2546(สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548)พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับมะเร็งปอดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำPapsmearหรือVIA (VisualInspectionofcervixwithAceticacid)ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy) ปีงบประมาณ2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearและVIA ในสตรีไทยอายุ30-60ปีกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ผลงาน พ.ศ. 2558 – 2562ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ ตำบลตำนานอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงเห็นความสำคัญของปัญหานี้ เนื่องจากตั้งแต่ปี 2558 จนถึง 2559 สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ได้เพียง ร้อยละ 28.55จากเป้าหมาย 743 คน ซึ่งในปี 2560ได้รับคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพิ่มเป็น ร้อยละ 60.83 (452 ราย)และตรวจพบผิดปกติ ส่งต่อพบแพทย์ จำนวน2 ราย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโตระจึงได้ดำเนินการจัดทำ โครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปีงบประมาณ 2561เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อใหสตรีกลุมเปาหมายไดรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไมนอยกวารอยละ80

1.สตรีกลุมเปาหมายไดรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไมนอยกวารอยละ80ผลงาน พ.ศ. 2558 – 2561

0.00
2 ข้อที่ 2 ..เพื่อใหกลุมเปาหมายที่ตรวจพบความผิดปกติไดรับการสงตอและรักษาอยางถูกตอง ตอเนื่อง และทันทวงทีลดอัตราการเกิดโรคในระยะอันตราย

2.กลุมเปาหมายที่ตรวจพบความผิดปกติไดรับการสงตอและรักษาอยางถูกตอง ตอเนื่อง และทันทวงที

0.00
3 ข้อที่ 3 .เพื่อใหกลุมเปาหมายมีความรูสามารถปองกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก ได

3 .กลุมเปาหมายมีความรูสามารถปองกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก ได

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20.00 1 20,800.00
จัดอบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการดูแลตนเองในสตรีกลุ่มเป้าหมาย เพื่อป้องกันจากโรคมะเร็งปากมดลูก 0 20.00 20,800.00

1.จัดทําโครงการและขออนุมัติโครงการ เพื่อปองกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก 2.สํารวจขอมูลกลุมประชากรเปาหมายในพื้นที่ 3.จัดทําทะเบียนกลุมเปาหมายและแผนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แตละหมูบาน 4.ประสานบุคคลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ 5.ประชาสัมพันธและรณรงคโครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสื่อชองทางตางๆเชน หอกระจายขาวสารประจําหมูบานและ อสม.ในเขตรับผิดชอบ 6.อบรมให้ความรู้ แก่อสม.สตรีเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกเพื่อสามารถถ่ายทอดความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายให้สามารถมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพร้อมแจกเอกสารความรู้เรื่องเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง 7.จัดชุดปฏิบัติการอสม.เคาะประตูบ้านชวนเพื่อนไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 8.จัดกิจกรรมรณรงค์ การตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยแกนนําอสม.นัดหมายตามแผนการรณรงค์ 9.รณรงค์การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามกลุ่มเป้าหมายในสถานบริการอย่างต่อเนื่อง 10.ส่งแผ่นสไลด์ ไปตรวจและอ่านผล จากโรงพยาบาลพัทลุง 11..รับผลตรวจจากโรงพยาบาลพัทลุง บันทึกผลการทำในโปรแกรม ของสถาบันมะเร็ง และ โปรแกรม JHCIS ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ 12.ส่งต่อผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และทันทว่งที 13.ประเมินผลการดําเนินงานและสรุปผลการดําเนินการโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก 3.สตรีที่ตรวจพบภาวะผิดปกติ ได้รับการส่งต่อและตรวจรักษา และติดตามเยี่ยม เป็นระยะๆ ทุกราย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 11:06 น.