กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจแก้ปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ
รหัสโครงการ 61-L8413-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบาลอ
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 22,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดียานา ประจงไสย
พี่เลี้ยงโครงการ นายรูสลาม สาร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.448,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ค่านิยมบริโภคอาหารทอดที่เพิ่มมากขึ้นจนผลิตภัณฑ์อาหารทอดต่างๆ กลายเป็นอาหารขายดีทั้งในระดับชุมชนจนถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มีการใช้น้ำมันทอดอาหารทั้งที่ทำจากสัตว์และพืชโดยเฉพาะน้ำมันพืชที่แต่ละปีประเทศไทยบริโภคถึงปีละ๘๐๐,๐๐๐ตันซึ่งข้อเท็จจริงพบว่าผู้ประกอบการอาหารทอด จะใช้น้ำมันในการทอดซ้ำหลายครั้งจนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไปจึงเปลี่ยนน้ำมันใหม่ หรือเติมน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆต่อไปการเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายคือ “สารโพลาร์”ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็งซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหารกำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ๒๕ของน้ำหนักโดยการตรวจปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมัน จะช่วยให้ผู้ประกอบการอาหารทอด ทราบเวลาที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันของร้านตนเองที่ยังคงความปลอดภัย และลดต้นทุนตามสมควร นอกจากนี้ การป้องกันไม่ให้น้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้วกลับมาสู่วงจรการบริโภค โดยนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลหรือนำไปใช้ในการผลิตสบู่ซึ่งถือเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและปลอดภัยที่ดีทางหนึ่งด้วย ดังนั้น เทศบาลตำบลบาลออาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 2496 มาตรา 50 (๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม จึงได้จัดทำโครงการร่วมใจแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำขึ้นเพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคและผู้ประกอบการอาหารในเขตเทศบาลตำบลบาลอ ได้มีความตระหนักถึงอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ และประสานความร่วมมือกันเพื่อป้องกันหรือลดอันตรายจากสารพิษในน้ำมันทอดซ้ำ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค มีความเข้าใจถึงอันตรายของน้ำมันทอดซ้ำต่อสุขภาพ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษจากน้ำมันทอดซ้ำ

 

0.00
2 เพื่อทราบสถานการณ์ ค่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอดของผู้ประกอบการขายอาหารในเขต เทศบาลตำบลบาลอ

ร้อยละร้านอาหารที่พบสารโพลาร์น้ำมันทอดซ้ำ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27.00 2 22,500.00
15 ก.ค. 61 - 16 ส.ค. 61 อภิปราย เรื่อง “รู้เท่าทันภัย สร้างใจให้เป็นสุข” 0 22.00 17,200.00
15 ก.ค. 61 - 16 ส.ค. 61 ลงพื้นที่ส่งตรวจร้านขายอาหารทอดที่เข้าร่วมโครงการ 0 5.00 5,300.00
  1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ โดยจัดทำเป็นป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ รณรงค์งดการใช้น้ำมันทอดซ้ำ
  2. จัดอบรมผู้ประกอบการและผู้บริโภค ให้ความรู้เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึง อันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำและวิธีหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารพิษในน้ำมันทอดซ้ำ
  3. ลงพื้นที่ส่งตรวจร้านขายอาหารทอดที่เข้าร่วมโครงการฯและสุ่มตรวจโดยใช้ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ๒ ครั้ง ในระยะเวลา ๔ สัปดาห์และมีกิจกรรมเพิ่มเติม ได้แก่

- แนะนำให้ผู้ขายอาหารทอดรู้จักวิธีการตรวจสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เพื่อให้ทราบรอบของการเปลี่ยนน้ำมัน รวมถึงวิธีการกำจัดน้ำมันเสื่อมคุณภาพที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม - มอบป้ายประกาศเกียรติคุณ “ร้านนี้ใช้น้ำมันทอดปลอดภัย” กรณีร้านผ่านมาตรฐานน้ำมันตามที่กำหนด(จากการสุ่มตรวจจำนวน ๒ ครั้ง มีผลการตรวจผ่านมาตรฐาน ๒ ครั้งติดกัน) 4. หาแนวทางการจัดการน้ำมันเก่า และแนะนำช่องทางการติดต่อผู้ประกอบการที่รับซื้อน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อผู้ประกอบการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลต่อไป 5. จัดตั้งเครือข่าย “สายตรวจสุขภาพ” เพื่อสุ่มตรวจสารโพลาร์น้ำมันทอดซ้ำในร้านอาหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ประกอบการร้านอาหาร มีความตระหนักถึงอันตรายจากสารพิษในน้ำมันทอดซ้ำ และ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๒. มีแนวการจัดการน้ำมันเก่าที่เสื่อมสภาพแล้วอย่างเหมาะสม
๓. เกิดการพัฒนากลไกระบบการคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการเฝ้าระวังปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 11:38 น.