กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลืออดออก ปี 2561
รหัสโครงการ 2561-L3306-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคู
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 ธันวาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 39,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนิตมูสิกะปาละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก และบางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญและได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน และได้กำหนดให้โรคไข้เลือดออกเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยที่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยต้องมีการบูรณาการแผนงาน กิจกรรมและงบประมาณ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากรายงานทางระบาดวิทยา 5 ปี ย้อนหลัง สำหรับเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู พบว่า ในปี พ.ศ.2556 มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 269.17 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี 2557 มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 132.07 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี พ.ศ.2558 มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 18.45 ต่อแสนประชากรโดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี 2559 มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 40 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 728.86 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และปี 2560 มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 256.41 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านคู ในปี 2559 เกิดขึ้นมากที่สุด มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกใกล้เคียงกับอัตราป่วยของอำเภอกงหราที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกณฑ์ที่กำหนดคืออัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐานของอัตราป่วยย้อนหลัง 5 ปี อัตราป่วยไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากรต่อปี และเกณฑ์สำคัญที่นำมาพิจารณาคือ ค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกินร้อยละ 10 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งหมด และโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด ปลอดลูกน้ำยุงลาย (Cl = 0) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จะต้องดำเนินการตั้งแต่ก่อนการเกิดโรค เมื่อเกิดโรค และหลังจากเกิดโรค นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยต้องดำเนินการอย่างครอบคลุม ต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และทันเวลา ทั้งในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การให้ความรู้แก่ประชาชน การพ่นเคมีเพื่อทำลายยุงลายตัวเต็มวัย การสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการสร้างความร่วมมือกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านคู สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง

หมู่บ้านมีค่า HI < 10 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สถานที่ราชการ โรงเรียน มัสยิด มีค่า CL = ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน โรงเรียน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนมีระบบการป้องกันควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ได้อย่างมีมาตรฐาน

0.00
3 เพื่อให้โรคไข้เลือดออกลดลง และมีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพไม่มีการระบาด

ลดอัตราป่วยลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐานของอัตราปวยย้อนหลัง 5 ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,940.00 3 39,940.00
ปรระชุมเตรียมความพร้อม SSRT 0 10,440.00 10,440.00
การพ่นหมอกควัน 0 12,000.00 13,567.00
เดินรณรงค์ 0 17,500.00 15,933.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง และมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม. ประชาชน และหน่วยงานสาธารณสุขในการควบคุมลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง 3.อัตราปวยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง และมีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดซ้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 13:17 น.