กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชมรมเข้มแข็ง ผู้สูงอายุสุขภาพดี
รหัสโครงการ 61-L5221-2-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 36,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญจองทองอิ้ว
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 พ.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 36,005.00
รวมงบประมาณ 36,005.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)
76.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คุณภาพชีวิตเปรียบเสมือนเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในทุกเพศ ทุกวัย จากสถานการณ์ของประเทศไทยพบว่ากำลังเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” ในอีก 8 ปีข้างหน้า หรือปี 2564 ที่จะมีถึง 1 ใน 5 จากที่ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) มาแล้วโดยมีสัดส่วนคนอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 10% เมื่อปี 2543 (ตามนิยามองค์การสหประชาชาติ) และคาดจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือมากถึง 30 % ในอีก 20 ปี หรือปี 2578นอกจากนี้ในอนาคตการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพเมื่อพิจารณาสัดส่วนเพศของประชากรสูงอายุ พบว่า ประชากรสูงอายุเพศหญิงมีสัดส่วนร้อยละ 55.1 ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 56.8 ในปี 2583 โดยเฉพาะประชากรสูงอายุวัยปลายเพศหญิงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากร้อยละ 13.9 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 21.3ในปี 2583 เนื่องจากเพศหญิงจะมีอายุยืนยาวกว่าเพศชายสำหรับแนวโน้มประชากรสูงอายุไทยจะอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลหรือเขตเมืองเพิ่มขึ้นโดยในปี 2553 มีประชากรสูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลจำนวน 3.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 39.7 เพิ่มขึ้นเป็น11.6 ล้านคน หรือร้อยละ 59.8 ในปี 2583 ทั้งนี้ เนื่องมาจากแนวโน้มการเติบโตของประชากรเมืองในประเทศไทยมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของจังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลาพบว่า มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานในปี 2559 เท่ากับ 162,474 ราย และในปี 2560 เท่ากับ167,796 รายเพิ่มขึ้น5,322 ราย และจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปี 2559 เท่ากับ 90,908 ราย และในปี 2560 เท่ากับ 96,179 ราย เพิ่มขึ้น 5,268 รายและจากการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ ด้านอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ในกลุ่มเสี่ยง พบว่ามีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องค่อนข้างสูง ในเรื่องรับประทานผักน้อยกว่าครึ่งกิโลกรัม และรับประทานผักไม่หลากหลายชนิดใน 1 วันและยังพบว่าสถานการณ์โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนในปี พ.ศ. ๒๕58 – ๒๕60มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 4๙๖ , 620 , 914คนตามลำดับซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน2๘๗ , ๓04 , 850 คนตามลำดับเฉลี่ยร้อยละ๙2.99 ของผู้ป่วยทั้งหมด
จากสถานการณ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิตดังนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกายและจิตใจทางชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอนได้จัดทำ โครงการชมรมเข้มแข็งผู้สูงอายุสุขภาพดีเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและส่งรักษาต่อในกรณีพบปัญหาสุขภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพตามแบบประเมินสุขภาพพึงประสงค์สามารถช่วยเหลือตนเองและเพื่อนบ้านได้พร้อมทั้งเพื่อเชิดชูบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพพึงประสงค์

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพพึงประสงค์ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

2.ผู้เข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นร้อยละ10

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28.00 0 0.00
ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
ติดตามการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ 0 12.00 -
จัดอบรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอน 0 14.00 -
จัดทำป้ายผู้สูงอายุและผังโครงสร้างชมรมผู้สูงอายุ 0 2.00 -

ขั้นเตรียมการ 1.สำรวจสมาชิกชมรมผู้สูงอายุหมู่ที่ ๑ – 10ตำบลท่าบอนอำเภอระโนดจังหวัดสงขลา 2. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน 3. ประชุมชี้แจงรายละเอียดแผนงาน/โครงการแก่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน 4. เตรียมแบบตรวจสุขภาพพึงประสงค์ผู้สูงอายุ และแบบคัดกรอง ADL 5. ประสานวิทยากรและผู้เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินการ ๑.จัดทำแผนการประชุมชมรมผู้สูงอายุหมู่ที่ ๑ – ๑๐ และแผนติดตามการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ 2.จัดประชุมชมรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอน 2 เดือนครั้ง 3.กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการไปประชุมวิชาการที่โรงพยาบาลสงขลา 4.ตรวจสุขภาพพึงประสงค์ให้แก่ผู้สูงอายุตำบลท่าบอนในวันประชุมผู้สูงอายุแต่ละหมู่ เช่น การชั่งน้ำหนัก การวัดความดัน โลหิตสูง การวัดรอบเอวเดือนละ1ครั้ง 5.ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้แบบคัดกรองสุขภาพ ADL ( BarthelActivities ofDailyLiving) 6.สรุปผลการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 7.ในรายที่มีผลการคัดกรองสุขภาพ ADL ผิดปกติจะดำเนินการส่งรักษาต่อ 8.จัดอบรมผู้สูงอายุตำบลท่าบอน เรื่องโรคในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายอาหารสำหรับผู้สูงอายุ 9.จัดทำป้ายผู้สูงอายุและผังโครงสร้างชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุ

ขั้นสรุปผลโครงการ 1. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและส่งรักษาต่อกรณีพบปัญหาสุขภาพ ๒.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองที่วิธี ๓.มีชมรมผู้สูงอายุที่แข็งแรงและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2561 17:07 น.