กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังอันตรายจากอะฟลาทอกซิน
รหัสโครงการ 61-L7258-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 278,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สาร "อะฟลาทอกซิน" เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราและมีการปนเปื้อนในอาหารมากที่สุดชนิดหนึ่ง จนอาจกล่าวได้ว่าอาหารที่เกิดเชื้อราได้ย่อมมีโอกาสปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินได้แต่ส่วนใหญ่แล้วอาหารที่มักพบว่าปนเปื้อนอะฟลาทอกซินได้แก่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วลิสงนอกจากนี้ ยังพบในถั่วชนิดอื่น ๆ รวมถึงข้าวและข้าวโพดแถมยังพบในแป้งต่าง ๆเช่นแป้งข้าวเจ้าแป้งข้าวเหนียวแป้งสาลีแป้งมันสำปะหลังและอาหารอบแห้งทั้งหลายเช่นพริกแห้ง พริกป่นพริกไทยงาปลาแห้งกุ้งแห้งกระเทียมหัวหอมผักและผลไม้อบแห้งเครื่องเทศหรือแม้แต่สมุนไพรชาชาสมุนไพรและกาแฟคั่วบดเป็นต้นทั้งนี้องค์กรอนามัยโลกได้จัดระดับความเป็นพิษของสารอะฟลาทอกซิน ให้เป็น "สารก่อมะเร็ง"ที่ร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งเพราะการปรุงอาหารด้วยความร้อนธรรมดาเช่นการทอดหุงนึ่งต้มจะไม่สามารถทำลายพิษอะฟลาทอกซินให้หมดไปได้เพราะสารพิษนี้สามารถทนความร้อนไปสูงถึง 260 องศาเซลเซียสอีกทั้งสารอะฟลาทอกซินเพียง1ไมโครกรัมสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรียและทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้เมื่อได้รับอย่างต่อเนื่อง สารอะฟลาทอกซินใกล้ชิดกับมนุษย์มาก เพราะมีอยู่ในอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวัน แม้จะไม่ค่อยพบการเกิดพิษอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากบริโภคครั้งละไม่มาก แต่ก็เสี่ยงต่อการเกิดพิษสะสม และหากร่างกายได้รับเข้าไปเป็นประจำ จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด "โรคมะเร็งตับ"ดังนั้นจึงควรให้ความสนใจและตระหนักถึงพิษภัยของสารพิษนี้เพื่อหาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงสารอะฟลาทอกซิน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑) เพื่อตรวจเฝ้าระวังสารอะฟลาทอกซินในอาหาร อาทิเช่น พริกแห้ง พริกป่น ถั่วลิสงป่น และพริกไทยป่น เป็นต้น

การปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ไม่เกินร้อยละ ๑๐

0.00
2 ๒) เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการในการเลือกบริโภคและจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยจากสารอะฟลาทอกซิน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ

ประชาชนและผู้ประกอบการมีความรู้ในการเลือกบริโภคและจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยจากสารอะฟลาทอกซิน  อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 268.00 3 270,800.00
5 เม.ย. 61 สั่งซื้อชุดทดสอบอะฟลาทอกซิน 0 254.00 256,800.00
5 เม.ย. 61 จัดจ้างทำแผ่นพับให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ 0 8.00 8,000.00
19 เม.ย. 61 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานเพื่อใช้ในการตรวจเฝ้าระวังสารอะฟลาทอกซินในอาหารกลุ่มเสี่ยง 0 6.00 6,000.00

กลุ่มเป้าหมาย

อาหารกลุ่มเสี่ยงอะฟลาทอกซินได่แก่ถั่งลิสงป่นพริกป่นและพริกไทยป่นเป็นต้นจำนวน๖๐๐ตัวอย่างในสถานประกอบการจำนวน๒๐๐แห่งดังนี้ - ร้านขายส่งอาหารกลุ่มเสี่ยงอะฟลาทอกซินจำนวน๑๕แห่ง - ร้านก๋วยเตี๋ยวผัดไทราดหน้าและอื่น ๆ ที่ซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยงอะฟลาทอกซินจากร้านขายส่งจำนวน๑๖๕แห่งและร้านที่ทำเองจำนวน๒๐แห่งรวมจำนวน๑๘๕แห่ง

วิธีดำเนินงาน

๑) จัดทำสื่อให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ ๒) สุ่มตรวจสารอะฟลาทอกซินในกลุ่มอาหารเสี่ยงที่จำหน่ายในสถานประกอบการเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ๓) ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทราบ ๔) สรุปผลและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑) อาหารที่จำหน่ายในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ปลอดภัยจากสารอะฟลาทอกซินมากขึ้น ๒) ประชาชนและผู้ประกอบการตระหนักถึงอันตรายของสารอะฟลาทอกซินและสามารถเลือกบริโภคและจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยได้มากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2561 10:29 น.