กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านมะพร้าวออกรวมใจ สร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ไร้ไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L5169-x-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดปรางแก้ว
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 23 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 มีนาคม 2561
งบประมาณ 19,192.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนวัดปรางแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใน อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.886,100.442place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.พ. 2561 23 ก.พ. 2561 19,192.00
รวมงบประมาณ 19,192.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 132 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนจะมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างกว้างขวางทั่วทุกภาคของประเทศไทย จากรายงานการเฝ้าระวังโรคล่าสุด เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 (สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข, 2561) พบว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งประเทศ สะสมรวม 53,190 ราย โดยมีอัตราป่วยสูงถึง 80.8 ต่อประชากรแสนคน โดยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 10-14 ปีโดยมีอัตราป่วยสูงสุดถึง 243.79 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 5-9 ปีโดยมีอัตราป่วยสูงสุดถึง 178 ต่อประชากรแสนคนและอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียน ร้อยละ 42.16 รองลงมา คือ รับจ้างและไม่ทราบอาชีพ ตามลำดับ ในระดับภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 136 ต่อประชากรต่อแสนคน รองลงมา ได้แก่ ภาคกลางและภาคเหนือ ตามลำดับ และเมื่อเทียบระหว่างจังหวัด พบว่า จังหวัดสงขลามีอัตราป่วยโรคนี้สูงสุดถึง 212.80 ต่อประชากรแสนคน โดยอำเภอคลองหอยโข่งยังครองสถิติการเกิดโรคและการตายเป็นลำดับแรกในระดับอำเภออีกด้วย

นอกจากนี้ ข้อมูลโรคติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน (2560) ยังพบว่า พื้นที่หมู่ที่ 9 บ้านมะพร้าวออก ของตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกถึง 7 คน คิดเป็นร้อยละ 77.78 ของโรคติดต่อที่พบในหมู่บ้าน สอดคล้องกับการให้ข้อมูลของผู้นำชุมชน และข้อมูลจากแบบสอบถามเชิงลึกที่คณะนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ลงสำรวจและเก็บรวบรวม ระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2561 ในเรื่องการเกิด การกระจาย และสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก ซึ่งพบว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา ยังมีการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ และเมื่อถามถึงความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรค ตลอดจนทัศนคติต่อการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายของชุมชน พบว่า ยังมีบางพื้นที่ในชุมชนไม่เห็นด้วยกับวิธีการจัดการที่ปฏิบัติอยู่ เช่น การคัดแยกขยะ และจากการลงสำรวจพื้นที่จริง พบว่า บางครัวเรือนยังมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันตามหลัก 5 ป 1 ข และการกำจัดขยะตามหลัก 3Rs ไม่ถูกต้อง ชัดเจน และสภาพแวดล้อมจริงของชุมชน ยังปรากฏพื้นที่ที่อาจเป็นบ่อเกิดหรือแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรค โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำขังตามคูน้ำและบริเวณรอบที่อยู่อาศัย นอกจากนั้น ยังพบน้ำขังในเศษภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว รวมทั้งที่ทิ้งขยะรวมของหมู่บ้านซึ่งมีเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาทุนทางสังคมของชุมชนข้างต้นที่จะเอื้อต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พบว่า ผู้นำชุมชนตั้งแต่ระดับตำบล อันได้แก่ นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งลาน ปลัดเทศบาลตำบลทุ่งลาน กำนันตำบลทุ่งลาน ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 9 บ้านมะพร้าวออก รวมทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดปรางแก้วซึ่งเป็นโรงเรียนติดชุมชน ต่างก็มีความมุ่งมั่น ร่วมใจและต้องการแก้ปัญหาทุกข์ภัยของประชาชน โดยแสดงเจตจำนงชัดเจนต่อที่ประชาคมหมู่บ้านซึ่งคณะนักศึกษาพยาบาลฯ ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ถึงความต้องการร่วมกันแก้ไขปัญหาและสาเหตุ บ่อเกิดของโรคภัยดังกล่าว

อนึ่ง การแก้ปัญหาดังกล่าวจะเกิดความยั่งยืนได้ ควรเริ่มจากการปลูกฝังทัศนคติ การให้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแก่บุตรหลานของคนในชุมชน และโรงเรียนวัดปรางแก้วซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ได้ดำเนินการเพื่อตัดวงจรลูกน้ำยุงลายและจัดการสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการรณรงค์และป้องกันไข้เลือดออก และ โครงการ Zero Waste ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเทศบาลทุ่งลานเป็นปีแรก

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงเรียนวัดปรางแก้ว ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน เทศบาลตำบลทุ่งลาน และ ผู้นำชุมชนหมู่ที่ 9 บ้านมะพร้าวออก จึงจัดทำโครงการ “บ้านมะพร้าวออกรวมใจ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ไร้ไข้เลือดออก” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในระดับครัวเรือนและชุมชน เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และปรับทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องการป้องกันไข้เลือดออกตามหลัก 5 ป 1 ข และการคัดแยกขยะตามหลัก 3 Rsของนักเรียนและครอบครัวนักเรียนในชุมชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมจิตสาธารณะให้เกิดแก่นักเรียนซึ่งเป็นบุตรหลาน ครอบครัว ชุมชนบ้านมะพร้าวออก เกิดพันธะสัญญาร่วมกันขององค์กรทุกภาคส่วนในชุมชนเพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ไร้โรคไข้เลือดออก ในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนและคนในชุมชน ในการป้องกันไข้เลือดออกตามหลัก 5ป1ข / 2. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจใหักับนักเรียน คนในชุมชน ในการคัดแยกขยะตามหลัก 3rs และการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักสุขาภิบาล / 3. เพื่อปรับทัศนคติของเด็กนักเรียน และคนในชุมชน ในเรื่องการคัดแยกขยะ และการป้องกันโรคไข้เลือดออก / 4. เพื่อให้นักเรียนและคนในชุมชน สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้อย่างถูกต้อง / 5. เกิดพันธะสัญญาในการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน / 6, ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
  1. ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันไข้เลือดออกตามหลัก 5ป 1ข
  2. ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะและการจัดการสิ่งแวดล้อม
  3. ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีทัศนคติเชิงบวกต่อการคัดแยกขยะและการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถปฏิบัติกิจกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้อย่างถูกต้อง
  5. มีเอกสารแสดงถึงข้อตกลงร่วมกันระหว่างองค์กรต่างๆในพื้นที่ ๑ ฉบับ ในการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลานในชุมชน
  6. ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจในระัดบมากถึงมากที่สุด
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 987.00 0 0.00
1 - 15 ก.พ. 61 สำรวจพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล 0 0.00 -
20 ก.พ. 61 ประชุมประชาคม 0 1.00 -
20 ก.พ. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการ 0 970.00 -
21 ก.พ. 61 อบรมให้ความรู้และลงมือปฏิบัติกิจกรรม 0 16.00 -

1.วางแผนการทำโครงการ 1.1 ลงสำรวจพื้นที่ในวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อาจเป็นปัญหาซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน
1.2 จัดประชุมประชาคมหมู่บ้านในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อนำเสนอข้อมูลปัญหาของหมู่บ้านและร่วมพิจารณาถึงสาเหตุของปัญหา ร่วมกำหนดแนวทางแก้ไข รายละเอียดการจัดกิจกรรมต่าง ๆ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบงานในส่วนต่าง ๆ

  1. ปฏิบัติตามแผน 2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 2.1.1 ให้ความรู้เรื่อง การป้องกันไข้เลือดออกตามหลัก 5 ป 1 ข และการจัดการสิ่งแวดล้อมในเรื่องการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2.1.2 ฝึกปฏิบัติตามฐานการเรียนรู้

- ฐานที่ 1 : ปรับปรุง - ฐานที่ 2 : เปลี่ยน ขัดปิด - ฐานที่ 3 : ปล่อย - ฐานที่ 4 : ปฏิบัติ

2.2 ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 2.2.1 เดินรณรงค์เรื่องหลัก 5 ป 1 ข และ หลัก 3Rs โดยเด็กนักเรียน อาสาสมัคร นักศึกษาพยาบาล และคนในชุมชน
2.2.2 ปฏิบัติปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งในและรอบบ้านของนักเรียนที่อาศัยในชุมชนหมู่ที่ 9 ตามหลัก 5 ป 1 ข และ หลัก 3Rs 2.3 เปิดโครงการในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561โดยนายอำเภอคลองหอยโข่ง 2.3.1 การแสดงของนักเรียนร่วมกับนักศึกษาพยาบาล 2.3.2 จัดทำ MOU (Memorandum of Understanding) 2.3.3 จัดนิทรรศการประมวลภาพกิจกรรมโครงการฯ และตอบคำถามชิงรางวัล 2.3.4 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะโดยวิทยากรจากเทศบาลตำบลทุ่งลาน

  1. สะท้อนผลการทำโครงการ 3.1 ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างพี่นักศึกษาพยาบาลกับน้องนักเรียนในเรื่องการปฏิบัติการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs และหลัก 5 ป 1 ข เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  2. การสรุปและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในผลกระทบของโรคไข้เลือดออก
  2. กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  3. กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันไข้เลือดออกตามหลัก 5 ป 1 ข
  4. กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะและการจัดการสิ่งแวดล้อม
  5. กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการมีการจัดการสิ่งแวดล้อมสะอาดตามหลักสุขาภิบาล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2561 09:52 น.