กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L5293-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่5บ้านท่าขาม
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กุมภาพันธ์ 2561 - 13 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2561
งบประมาณ 14,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม.หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 5 บ้านท่าขามตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ก.พ. 2561 31 มี.ค. 2561 14,050.00
รวมงบประมาณ 14,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งในด้าน ร่างกายและจิตใจ ทุกเพศทุกวัยจากการศึกษาพบว่าประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มาตั้งแต่ปี๒๕๔๘ แล้วผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องในทุกๆประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทยทั้งนี้จากการสาธารณสุขและการแพทย์ที่เจริญขึ้นช่วยให้คนมีอายุที่ยืนขึ้นนอกจากนั้นจากการคุมกำเนิดและสถานภาพทางเศรษฐกิจส่งผลให้มีบุตรลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่อยู่ในภาวะต้องพึ่งพามีปัญหาการเสื่อมถอยของร่างกายซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติตามอายุที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งการมีโรคเรื้อรังต่างๆซึ่งมักจะเกิดในช่วงวัยผู้สูงอายุเช่นเบาหวานความดันโลหิตสูงมาจากการขาดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายปัญหาทางสุขภาพและปัญหาทางสุขภาพจิต เพราะเป็นวัยแห่งการพลัดพรากสูญเสีย ดังนั้นจึงเป็นวัยที่ควรดูแลเฉพาะแตกต่างจากวัยอื่นๆเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาสมกับวัย มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อลดปัญหาของตัวผู้สูงอายุเองครอบครัวของผู้สูงอายุและสังคมซึ่งในภาพรวมของประเทศไทยพบว่ามีถึง๑๔ ล้านคนที่เป็นโรคไม่ตดต่อเรื้อรังในกลุ่มโรคNCDsและที่สำคัญยังถือเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของประชากรทั้งประเทศ โดยจากสถิติปี พ.ศ. ๒๕๕๒พบว่ามีประชากรเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังNCDs มากกว่า๓๐๐,๐๐๐ คน หรือคิดเป็น๗๓ %ของการเสียชีวิต ของประชากรไทยทั้งหมดในปี ๒๕๕๒ทั้งนี้สถิติการเสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆในอนาคต ถึงแม้ว่าสถิติการป่วยและการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังNCDsจะสูงมากแต่แท้จริงแล้วกลุ่มโรคNCDsนั้นสามารถที่จะป้องกันได้เพราะสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงหลักนั้น เกิดจากพฤติกรรมของตนเองเช่น การขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารหวานมันเค็มจัดมีความเครียดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งหากคนในประเทศไทยสามารถลดหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ได้ก็จะเป็นการลด โอกาสเสี่ยงในการเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังNCDs ได้มากถึง ๘๐ % ลดโอกาสในการเป็นมะเร็งได้ ๔๐ %โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจโรคเบาหวานประเภทที่ ๒ ได้ถึง๘๐ % ปัจจุบันจังหวัดสตูลมีผู้สูงอายุ๖๐ ปีขึ้นไปจำนวน๓๒,๑๗๐ คนจากประชากร ทั้งหมด๒๖๔,๕๘๔ คน คิดเป็นร้อยละ๑๒.๑๕ซึ่งการคัดกรองโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุได้แก่โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประชากรผู้สูงอายุทุกอำเภอในจังหวัดสตูลได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๑๗,๙๔๖ คน (ร้อยละ ๕๕.๗๘) ปกติ๑๑,๖๔๙ คน(ร้อยละ ๖๔.๙๑)เสี่ยง๕,๐๔๒ คน(ร้อยละ ๑๕.๖๗)เสี่ยงสูง๑,๒๕๕ คน (ร้อยละ ๓.๙) และเข้ารับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน๒๔,๖๗๑ คน (ร้อยละ ๗๖.๖๙)ปกติ๒๑,๕๘๙ คน (ร้อยละ ๖๗.๑)เสี่ยง๒,๗๙๖ คน (ร้อยละ ๘.๖๙)เสี่ยงสูง ๒๘๖ คน ( ร้อยละ ๐.๘๘ ) และผู้สูงอายุเข้ารับการคัดกรองการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อจำแนกผู้สูงอายุจำนวน ๓๐,๓๘๑ คน (ร้อยละ ๙๔.๔๔)ติดสังคม ๒๙,๓๗๐ คน (ร้อยละ๙๖.๖๗ )ติดบ้าน ๘๓๒ คน (ร้อยละ ๒.๗๓)และติดเตียง ๑๗๙ คน (ร้อยละ ๐.๕๘) ในส่วนของระดับอำเภอทุ่งหว้ามีประชากรผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน๒,๓๑๗ คน(ร้อยละ ๗.๒)จากประชากรผู้สูงอายุของทุกอำเภอในจังหวัดสตูล จำนวน๓๒,๑๗๐ คน เข้ารับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน๑,๑๖๔ คน(ร้อยละ ๕๐.๒๔ )ปกติ ๕๗๑ คน(ร้อยละ ๔๙.๐๕ )เสี่ยง๔๙๐คน(ร้อยละ๔๒.๐๙)เสี่ยงสูง๑๐๓คน (ร้อยละ ๘.๘๔)เข้ารับการคัดกรองเบาหวานจำนวน๑,๑๘๕ คน(ร้อยละ ๘๑.๓๖)ปกติ๑,๓๔๐ คน(ร้อยละ๗๑.๐๘ ) เสี่ยง๔๘๘ คน (ร้อยละ๒๕.๘๘)เสี่ยงมาก๕๗คน (ร้อยละ๓.๐๒) และผู้สูงอายุเข้ารับการคัดกรองการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อจำแนกผู้สูงอายุจำนวน ๒,๒๔๐ คน (ร้อยละ ๙๖.๖๘)ติดสังคม ๒,๑๔๘ คน (ร้อยละ๙๕.๘๙ ) ติดบ้าน ๗๘ คน (ร้อยละ๓.๔๘ )และติดเตียง ๑๔ คน (ร้อยละ ๐.๖๒) ในระดับตำบลทุ่งหว้ามีประชากรผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและ โรคเบาหวาน จำนวน๗๓๑ คน(ร้อยละ ๓๑.๕๔)จากประชากรผู้สูงอายุของทุกตำบลในอำเภอทุ่งหว้า จำนวน ๒,๓๑๗ คน ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน๔๐๓ คน(ร้อยละ ๕๕.๑๓ )ปกติ ๒๓๑ คน(ร้อยละ ๕๗.๓๒ )เสี่ยง๑๓๘คน(ร้อยละ๓๔.๒๔)เสี่ยงสูง๓๔คน (ร้อยละ ๘.๔๓)ได้รับการคัดกรองเบาหวานจำนวน๕๗๖ คน(ร้อยละ ๗๘.๘๐)ปกติ๔๒๕ คน(ร้อยละ๗๓.๗๘ )เสี่ยง๑๔๑ คน(ร้อยละ๒๔.๔๗)เสี่ยงสูง๑๐ คน (ร้อยละ๑.๗๓) และผู้สูงอายุเข้ารับการคัดกรองการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อจำแนกผู้สูงอายุจำนวน ๗๒๑ คน (ร้อยละ ๙๘.๖๓)ติดสังคม ๗๐๒ คน (ร้อยละ๙๗.๓๖ ) ติดบ้าน ๑๖ คน (ร้อยละ๒.๒๑ )และติดเตียง ๓ คน (ร้อยละ ๐.๔๑) ในพื้นที่หมู่ที่๕ บ้านท่าขามอ.ทุ่งหว้าต.ทุ่งหว้าจ.สตูลซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาและจัดทำ โครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ มีผู้สูงอายุ จำนวน ๕๐ คน (ร้อยละ ๖.๘๓ ) จากประชากรผู้สูงอายุทุกหมู่ในตำบลทุ่งหว้า จำนวน ๗๓๑คนได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิต ๓๒ คน(ร้อยละ๖๙.๕๖)ปกติ๒๓ คน (ร้อยละ๗๑.๘๗)เสี่ยง๖คน(ร้อยละ๑๘.๗๕)เสี่ยงสูง๓ คน (ร้อยละ๙.๓๗)ซึ่งปัญหาของโรค NCDs ในหมู่ที่ ๕ บ้านท่าขามไม่ได้เป็นปัญหามากนักแต่ปัญหาที่ยังเป็นปัญหาอยู่ก็คือผู้สูงอายุการขาดออกกำลังกายซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากผลจากการสำรวจคัดกรองเพื่อจำแนกผู้สูงอายุตามศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตหมู่ที่๕ บ้านท่าขาม ตำบลทุ่งหว้าอำเภอทุ่งหว้าจังหวัดสตูลปีงบประมาณ๒๕๖๑ ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าในการดูแลภาวะสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัยซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่๕ บ้านท่าขาม ได้ดำเนินการร่วมกันกับฝ่ายส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลทุ่งหว้า และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าในการดูแลสุขภาพและคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานโรคอ้วนลงพุงมีรอบเอวเกินรวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยผู้สูงอายุในเรื่องของการออกกำลังกายการบริโภคอาหารและอารมณ์ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุหมู่ที่๕จำนวน๕๐ คนได้รับการคัดกรองและประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึ่งประสงค์จำนวน ๔๗ ชุด จากจำนวนผู้สูงอายุ ๕๐ คน โดยจะมีการคัดกรองคือ คัดกรองการทำกิจวัตรประจำวันเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุ๓ กลุ่ม คือกลุ่มติดสังคม(ร้อยละ๙๑.๔๘)กลุ่มติดบ้าน (ร้อยละ๘.๕๑) และไม่มีผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง การสูบบุหรี่/ยาเส้นไม่สูบ (ร้อยละ๙๕.๗๔)สูบ(ร้อยละ๔.๒๕) การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ไม่ดื่ม (ร้อยละ๙๕.๗๔) คนดื่ม (ร้อยละ๔.๒๕)ผลการตรวจโรคเบาหวานปกติ (ร้อยละ๙๕.๗๔) ไม่ปกติ(ร้อยละ๔.๒๕)ผลการตรวจโรคความดันโลหิตสูงปกติ๔๐ คน (ร้อยละ๘๕.๑) ไม่ปกติ(ร้อยละ๑๔.๘๙)มีฟันใช้อย่างน้อย ๒๐ ซี่ โดยมีฟันหลัง ๔ คู่สบมี (ร้อยละ๖๑.๗)ไม่มี (ร้อยละ๓๘.๒๙) การคัดกรองสุขภาวะทางตามีปัญหาการมองเห็น (ร้อยละ๓๔.๐๔) ไม่มีปัญหาการมองเห็น (ร้อยละ๖๙.๙๕)การประเมินคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย ๒ คำถาม (๒Q)ไม่มีภาวะของโรคซึมเศร้า (ร้อยละ๘๕.๑)มีภาวะของโรคซึมเศร้าและเมื่อประเมินด้วย ๙ คำถาม(๙Q) ทั้ง ๗ คนไม่มีภาวะซึมเศร้าคัดกรองการประเมินสภาพสมองเสื่อมไม่มีภาวะสมองเสื่อม(ร้อยละ๘๕.๑) มีภาวะเสี่ยงสมองเสื่อม (ร้อยละ๑๔.๘๙)การประเมินภาวะหกล้มปกติ (ร้อยละ๙๕.๗๔) เสี่ยง (ร้อยละ๔.๒๕)๑๘.การคัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะไม่มีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ (ร้อยละ๘๒.๙๗) มีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ (ร้อยละ๑๗.๐๒) การประเมินปัญหาการนอนไม่มีปัญหาการนอน (ร้อยละ๘๕.๑)มีปัญหาการนอน (ร้อยละ๑๔.๘๙) การประเมินข้อเข่าเสื่อมมีปัญหาข้อเข่า(ร้อยละ๒๕.๕๓) ข้อเข่าปกติ (ร้อยละ๗๔.๔๖)และการคัดกรองพฤติกรรมสุขภาพที่พึ่งประสงค์๕ องค์ประกอบได้แก่ ๑.กำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ๓วันครั้งละ๑๕-๓๐นาทีไม่ปฏิบัติ (ร้อยละ๖๑.๗) ปฏิบัติ (ร้อยละ๓๘.๒๙)๒.ประทานอาหารผักผลไม้สดเป็นประจำ (อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๕ วัน) ปฏิบัติ (ร้อยละ๙๗.๘๗) ไม่ปฏิบัติ (ร้อยละ๒.๑๒) ๓.ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ ๘แก้วเป็นประจำปฏิบัติทุกคน(ร้อยละ๑๐๐) ๔. ไม่สูบบุหรี่/ ยาเส้น ไม่สูบ (ร้อยละ๙๕.๗๔)สูบ (ร้อยละ๔.๒๕)๕.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เช่นสุราเบียร์ยาดองเหล้า) ไม่ดื่ม (ร้อยละ๙๕.๗๔)ดื่ม (ร้อยละ๔.๒๕)การมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์จะต้องผ่านทั้ง๕ องค์ประกอบที่ได้กล่าวไปข้างตนซึ่งในจำนวนแบบคัดกรองทั้ง ๔๗ ชุดพบว่าผ่านทั้ง ๕องค์ประกอบจำนวน๑๘ ชุดคิดเป็นร้อยละ ๓๘.๒๙ไม่ผ่านครบทั้ง๕องค์ประกอบ ๒๙ชุดคิดเป็นร้อยละ๖๑.๗และองค์ประกอบที่มีปัญหามากที่สุดคือกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ๓วันครั้งละ๑๕-๓๐นาทีไม่ปฏิบัติ (ร้อยละ๖๑.๗) ปฏิบัติ (ร้อยละ๓๘.๒๙) ดังนั้นนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุงและอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ ๕ บ้านท่าขามได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการจัดโครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพหมู่ที่ ๕ บ้านท่าขามให้มีผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีโดยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตามหลัก ๓ อ.๒ส. และส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงของระบบต่างๆในร่างกายโดยการจัดกิจกรรมออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ามันตราทั้งนี้การจัดให้มีกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ามันตราเพื่อใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน อันนำมาซึ่งสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุและสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการและได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลัก 3อ.2ส.

ร้อยละ 80 ของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ.2 ส.

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลัก 3 อ.2 ส. เพิ่มมากขึ้น

ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง3 อ.2 ส. เพิ่มขึ้น ( โดยใช้แบบสดสอบความรู้ก่อน-หลังอบรมให้ความรู้ )

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีเกิดการในดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ.2ส. หลังการจัดโครงการ -การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ามันตรา -การจัดการกับอารมณ์ -การบริโภคอาหาร

ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพตาม หลัก๓ อ.๒ ส. ไปปฏิบัติปรับพฤติกรรมของตนเองในชีวิตประจำวันได้ (ใช้แบบประเมินพฤติกรรมตามหลัก ๓ อ.๒ ส.) -ประเมินการออกกำลังกายผ้าขาวม้าได้ถูกต้อง -ประเมินสุขภาพจิต -ประเมินการบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,014.00 0 0.00
21 ก.พ. 61 - 31 มี.ค. 61 อบรมให้ความรู้ 0 14.00 -
21 ก.พ. 61 - 31 มี.ค. 61 กิจกรรมออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ามันตรา 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ประชากรผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการและเข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับดูแลสุขภาพ ตามหลัก ๓ อ.๒ ส.และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองและสามารถแนะนำผู้อื่นได้ -ประชากรผู้สูงอายุรู้ถึงวิธีการจัดการกับสุขภาพจิตของตนเอง -ประชากรผู้สูงอายุเลือกรับประทานอาหารเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ -ประชาการผู้สูงอายุมีพฤติกรรมในการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้ามันตราในชีวิตประจำวันได้ ถูกต้องและทำได้อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 11:18 น.