กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนท่าขาม เสริมสร้างสุขภาพดี ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 61-L5293-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2561 - 31 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2561
งบประมาณ 7,625.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม.หมู่ที่ 5
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.พ. 2561 31 มี.ค. 2561 7,625.00
รวมงบประมาณ 7,625.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทย ประชาชนนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น เกิดการแข่งขันในสังคม จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ การขาดการออกกำลังกาย ความเร่งรีบในการทำงาน ความเครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข สำหรับสถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูง โดยองค์การอนามัยโลกพบว่าทั่วโลกมีผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงเกือบถึงพันล้านคน โดย ๒ ใน ๓ ของในจำนวนนี้อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา จากข้อมูลสถิติสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทยพบว่าจำนวนผู้ป่วยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖ จำนวน ๑๐๙,๓๘๕ ราย ๑๒๖,๓๘๐ ราย และ ๑๕๖,๔๔๒ ราย และอัตราการตายจากภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖ เท่ากับ ๓,๖๖๔ ราย ๓,๖๘๔ ราย และ ๓,๗๖๑ ราย จากรายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประจำปี ๒๕๕๘ จากฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับบริการมีรายงานผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรวม๗๕๐,๒๔๘ ราย อุบัติการณ์ ๑,๑๔๖.๗๐ ต่อประชากรแสนคน ซึ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนี้ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างเดียว ๔๘๒,๓๕๙ ราย ร้อยละ ๖๔.๒๙ อัตราป่วย ๗๓๗.๒๕ ต่อแสนประชากร และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเบาหวานร่วมด้วย ๒๖๗,๘๘๙ ราย ร้อยละ ๓๕.๗๑ อัตราป่วย ๔๐๙.๔๕ ต่อประชากรแสนคน ในจำนวนนี้เสียชีวิต ๗,๗๒๙ ราย อัตราตาย ๑๑.๘๑ ต่อประชากรแสนคน จะเห็นได้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละปี และพบว่าจังหวัดสตูลมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เกิดขึ้น จากการศึกษาข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดสตูลในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา จากกลุ่มเป้าหมาย ๙๓,๖๙๗ ราย คัดกรอง ๘๗,๕๘๔ ราย พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ๒๑,๔๓๐ ราย และกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงสูง ๓,๖๗๒ ราย และในอำเภอทุ่งหว้า จากกลุ่มเป้าหมาย ๗,๑๙๙ ราย คัดกรอง ๖,๕๙๒ ราย พบกลุ่มเสี่ยง ๒,๐๙๐ ราย และยังพบว่าในหมู่ที่ ๕ บ้านท่าขามพบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ๓๕ ราย จากผู้มาคัดกรอง ๑๔๕ ราย ซึ่งโดยภาพรวมทั้งประเทศแล้ว ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลแล้วยังทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ และยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ยังมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อีกด้วย ดังนั้นนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุงและอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ ๕ บ้านท่าขามได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาของโรคความดันโลหิตสูงจึงได้มีการจัดโครงการ“ชุมชนท่าขาม เสริมสร้างสุขภาพดี ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูง”โดยการให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก ๓อ ๒ส และการนำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ในการประกอบอาหาร หรือทำเป็นเครื่องดื่มรับประทาน เพื่อที่จะช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราป่วยและทำให้ประชาชนบ้านท่าขาม มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการป้องกันตนเองจากโรคความดันโลหิตสูง

๑.มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
2 ๒.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นที่สามารถลดภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้

๒.ผลการประเมินความรู้หลังเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐

0.00
3 ๓.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องตามหลัก ๓อ ๒ส

.ผลการประเมินความพึ่งพอใจร้อยละ ๘๐ .ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพได้ถูกต้องตามหลัก ๓อ ๒ส ร้อยละ ๗๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,625.00 0 0.00
21 ก.พ. 61 - 31 มี.ค. 61 อบรมให้ความรู้ 0 7,625.00 -
21 ก.พ. 61 - 31 มี.ค. 61 อบรมสมนุนไพร ลดความดัน /เต้นแอโรบิค 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ตามหลัก ๓อ ๒ส และสามารถสามารถนำ ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง ๒.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นๆในชุมชนได้อย่างถูกต้อง ๓.ผู้เข้าร่วมโครงการหันมาบริโภคสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง ๔.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 11:44 น.