กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อในชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L7250-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 159,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวสุธิดานนทพันธ์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 345 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2764 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ และนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรังได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมองจอประสาทตาเสื่อม ไตวาย โรคหัวใจขาดเลือด แผลเรื้อรัง จากโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการหลายประการ ได้แก่ อัมพฤกษ์ อัมพาต ตาบอด หรือถูกตัดขา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและเศรษฐกิจของครอบครัว จากข้อมูลการดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมโรคไม่ติดต่อในเขตเทศบาลนครสงขลาปี ๒๕๖๐ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง พบว่าประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๓,๑๑๘ คน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง จำนวน ๒,๔๓๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๐๙ พบกลุ่มเสี่ยงสูงมาก ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๖๔ และคัดกรองเบาหวาน จำนวน ๒,๘๕๒ คน ร้อยละ ๙๑.๔๗ พบกลุ่มเสี่ยงสูงมาก ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๓๘ และพบกลุ่มป่วยเรื้อรังรายใหม่ ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๖ กลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี จำนวน ๑,๙๖๕ คน ได้รับการสอนการตรวจเต้านม สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง ๑,๒๙๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๖๕ พบผู้ป่วยรายใหม่ ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๕ ตรวจรักษาตามมาตรฐานเฉพาะโรค มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ จำนวน ๕๖๕ คน จากการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง เทศบาลนครสงขลาได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันเฝ้าระวัง และควบคุมโรคไม่ติดต่อ มีเป้าหมายการลดปัจจัยเสี่ยงและลดการเกิดโรครายใหม่ โดยการคัดกรองสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เข้มข้นและการติดตามดูแลผู้ป่วย โรคเรื้อรังให้สามารถดูแลตนเอง พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ ฝึกทักษะให้กับญาติผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข มีสภาพร่างกาย จิตใจที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาวเท่าคนปกติทั่วไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพตามเกณฑ์

๑.ประชาชนอายุ๓๕ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพ ร้อยละ๙๐ ๑.๑กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ๘๐ ๑.๒กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรังเกิดเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่น้อยกว่า ร้อยละ๓

0.00
2 ๒. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรครายใหม่

๒.กลุ่มโรคเรื้อรังที่ได้รับการรักษาที่ PCU ได้รับการดูแลตามมาตรฐานเฉพาะโรค ร้อยละ ๙๐

0.00
3 ๓. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค

๓.หญิงอายุ๓๐-๗๐ปีสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ร้อยละ๘๐

0.00
4 ๔. เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพที่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

๔.หญิงอายุ๓๐-๖๐ปีสามารถตรวจมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ๒๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการเจ้าหน้าที่และ อสม. แกนนำสุขภาพ ๒.คัดกรองสุขภาพตามกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ๓.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
๓ อ. ๒ ส. ๔.การรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการและในชุมชน ๕.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้SHG, ฐานการเรียนรู้, Camp ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ๖.จัดกิจกรรมอบรมเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพใส่ใจผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๗.กิจกรรมฐานการเรียนรู้ปรับพฤติกรรมเดิม เพิ่มพฤติกรรมใหม่ (Day camp) กิจกรรมฐานการเรียนรู้ -ฐานที่๑ฐานอ่อนหวาน ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ -ฐานที่2ฐานการดูแลสุขภาพช่องปาก -ฐานที่3ฐานการดูแลตนเองและการลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง -ฐานที่4ฐานการออกกำลังกายและสันทนาการ ๘.การติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนกลุ่มปกติได้รับการคัดกรองสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ๒.ประชากรชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการติดตามดูแลสุขภาพไม่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ สามารถดูแล สุขภาพตัวเองได้กลับไปเป็นกลุ่มปกติ ๓.ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพแบบองค์รวม สามารถดูแลตัวเองได้อย่าง เหมาะสม ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ๔.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแกนนำดูแลสุขภาพที่มีทักษะในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2561 13:31 น.