กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทสบาลตำบลเมืองรามันห์
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เทศบาลตำบลเมืองรามันห์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุราเป็นต้น จากผลการคัดกรองสุขภาพประชาชนอำเภอรามันตลอดระยะเวลา ๓ ปีที่ผ่านมา พบว่าในปี ๒๕๕๕ จำนวนทั้งหมด ๓,๙๖๔ คน พบว่า ประชาชนกลุ่มดี จำนวน ๒,๒๘๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๕๙ กลุ่มเสี่ยง จำนวน ๑,๑๓๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๖๘และกลุ่มป่วย จำนวน ๕๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๗๒ปี และในปี ๒๕๕๖ จำนวนทั้งหมด ๓,๗๒๘ คน พบว่า กลุ่มดี จำนวน ๑,๙๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๕๐ กลุ่มเสี่ยง จำนวน๑,๒๒๘ คนคิดเป็นร้อยละ ๓๒.๙๓ และกลุ่มป่วย จำนวน ๕๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๕๕และในปี ๒๕๕๗ จำนวนทั้งหมด ๔,๐๘๖ คน พบว่า กลุ่มดี จำนวน ๑,๘๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๑๕ กลุ่มเสี่ยง จำนวน๑,๕๖๒ คนคิดเป็นร้อยละ ๓๒.๑๓ และกลุ่มป่วย จำนวน ๖๓๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๖๑จะเห็นได้ว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีอัตราเพิ่มขึ้นส่วนประชาชนกลุ่มดีมีอัตราน้อยลง ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่มีอัตราสูงขึ้นทุกปี สำหรับผลการเข้ารับการรักษาโรคดังกล่าวที่คลินิกความดัน เบาหวานของโรงพยาบาลรามันในปีที่ผ่านมา พบว่าจำนวนกลุ่มป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเมื่อกลุ่มป่วยได้เข้ารับการรักษาตามแนวทางการรักษาของแพทย์ ประชาชนกลุ่มป่วยส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนลดน้อยลง เนื่องจากกลุ่มป่วยได้รับการรักษาโดยการใช้ยาและมีความรู้ในเรื่องการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมและถูกต้อง ทั้งในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าการรักษาและแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะในประชาชนกลุ่มป่วยเท่านั้น ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เปลี่ยนเป็นกลุ่มป่วยได้ภายในระยะเวลาไม่นาน และประชาชนกลุ่มดีอาจเปลี่ยนเป็นกลุ่มเสี่ยงได้หากประชาชนไม่ตระหนักในการดูแลสุขภาพและยังมีพฤติกรรมสุขภาพตนเองที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งประชาชนทั้งสองกลุ่มถือเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญและต้องดำเนินการแก้ไขให้ทันท่วงที

ด้วยเหตุนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลเมืองรามันห์ร่วมกับกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงขึ้น โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรวมทั้งประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและต่อเนื่อง มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วันๆ ละ ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักสดและผลไม้สดวันละอย่างน้อย ๕ ขีดขึ้นไป (ครึ่ง กิโลกรัม) และลดอาหารจำพวกไขมัน เพื่อป้องกันและควบคุมความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยผ่าน

เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองที่เหมาะสม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ - ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน และประชุมชี้แจง อบรมให้ความรู้ อสม.เพิ่มเติม - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ - ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป พร้อมสรุปผลการคัดกรองโดยแยกเป็นกลุ่มดี, กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย ขั้นดำเนินการ -จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชาชนกลุ่มเสี่ยง
-จัดทำแบบทดสอบความรู้ เพื่อทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
-อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย - จัดกิจกรรม Walk Rally โดยแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้จำนวน ๕ ฐาน (สันทนาการ/นันทนาการ) ฐานที่ ๑ ฐานประเมินสัดส่วนร่างกาย
ฐานที่ ๒ ฐานเรียนรู้ด้านอาหาร
ฐานที่ ๓ ฐานเดินเร็ว
ฐานที่ ๔ ฐานวัดการหายใจ (๑๐ ครั้ง/นาที) ฐานที่ ๕ ฐานสั่งลาพุง - ติดตาม ประเมินผล หลังจากอบรมทุก ๓ เดือน ขั้นสรุปผล - สรุปผลการดำเนินโครงการฯ พร้อมแนวทางการแก้ไข และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 10:12 น.