กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าแพ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลท่าแพ
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2017 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 94,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาวสาววรรณี ปาทาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ไข้เลือดออกในจังหวัดสตูล มีผู้ป่วยแล้วทุกอำเภอ โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2560 จำนวนทั้งสิ้น 66 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 21.07 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียขีวิต 2 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.64 อัตราผู้ป่วยตายเท่าแับร้อยละ 3.03 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 32 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี ,5-9 ปี อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 30 ราย รองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง อาชีพในการปกครองและอาชีพเกษตร อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอมะนัง อัตรป่วยเท่ากับ 45.11 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอทุ่งหว้า อำเภอท่าแพ อำเภอเมือง อำเภอละงู อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน อัตราป่วยเท่ากับ 42.3 ,42.05 ,20.44 ,11.31 ,8.73, 7.73 ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล 2560) สำหรับพื้นที่ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในทุกหมู่บ้าน โดยเริ่มพบผู้ป่วยตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ 2560 จำนวนทั้งสิ้น 74 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 773.89 ต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่ามีอัตรผู้ป่วยที่สูงมาก โดยหมู่บ้านที่พบผู้ป่วยมากที่สุด 3 อันดับ แรกคือ หมู่ที่ 7 บ้านสายควน หมู่ที่ 2 บ้านท่าแพ และหมู่ที่ 6 บ้านลุ่ม จำนวนผู้ป่วยได้แก่ 21 ราย 17 ราย และ 15 ราย ตามลำดับ สำหรับหมู่บ้านที่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกน้อยที่สุดได้แก่ หมู่ที่ 9 บ้านนาแก้ว หมู่ที่ 10 บ้านควนบิลายสา และหมู่ที่ 3 บ้านมุด จำนวนผู้ป่วยได้แก่ 2 ราย 3 ราย และ 3 รายตามลำดับ โดยเริ่มพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปี และพบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนกรกฎาคมของปี และคาดว่าจะมีการระบาดไปเรื่อยๆ ถ้าไม่มีการป้องกันและควบคุมโรค ดังนั้นเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิดระบาดขึ้นในพื้นที่ตำบลท่าแพ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลท่าแพ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าแพปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน 2.เพื่อป้องกันและลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 3.เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง 4.เพื่อป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิด Second Generation

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 94.00 1 94,000.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 จ้างเหมาพ่นหมอกควันในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกผู้ป่วยในพื้นที่ 0 94.00 94,000.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน 1.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าแพ 1.3 จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และเสนออนุมัติโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ดำเนินโครงการ ทราบรายละเอียดโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.2 สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านรายไตรมาส 2.3 พ่นหมอกควันในโรงเรียนทุกแห่งก่อนเปิดเทอม โดยพ่นสารเคมี 2 ครั้งเพื่อทำลายยุงพาหะตัวแก่นำโรคไข้เลือดออก 2.4 พ่นหมอกควันในหมู่บ้านทุกแห่งในพื้นที่ตำบลท่าแพ โดยพ่นสารเคมี 2 ครั้งเพื่อทำลายยุงพาหะตัวแก่นำโรคไข้เลือดออก
  3. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการให้หน่วยงานเกี่ยวข้องทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าแพมีสุขภาพดีปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับการป้องกันไข้เลือดออกตลอดจนการดูแลสุขภาพและอนามัยชุมชน
  3. การป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกเป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งกำหนดไว้ว่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนให้มีค่า HI ไม่เกิน 10 และ CI ไม่เกิน 0
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2018 12:38 น.