กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมสร้างความร่วมมือเครือข่ายการจัดการขยะชุมชนวังหิน ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 61-L1520-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวตง
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2561 - 22 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 12,332.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 ก.พ. 2561 22 ก.พ. 2561 22 ก.พ. 2561 22 ก.พ. 2561 12,332.00
รวมงบประมาณ 12,332.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเพิ่มขึ้นของประชากรประกอบกับการที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองอย่างรวดเร็วส่งผลทำให้เกิดขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยที่ผ่านมาพบว่า แนวโน้มของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในทุกปี หากพิจารณาถึงอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของประเทศก็มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น ปี 2560 พบว่า มีขยะมูลฝอยชุมชนเกิดขึ้น 27.39 ล้านตัน จัดการได้แล้ว 7.53 ล้านต้น คิดเป็น 28% ขยะมูลฝอยตกค้าง 30.49 ล้านตัน จัดการได้แล้ว 24.96 ล้านต้น คิดเป็น 82% และของเสียอันตรายชุมชน 606,319 ตัน จัดการได้แล้ว 545 ตันคิดเป็น 0.09% ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นของประเทศไทย 27.06 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอยที่ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 พบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นของประเทศไทย 26.85 ล้านตัน โดยคิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอยที่ 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ปริมาณขยะมูลฝอยในกลุ่มจังหวัดคิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณขยะมูลฝอยในภาคใต้ จังหวัดที่มีปริมาณขยะมูลฝอยมากที่สุดในกลุ่มจังหวัด คือ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งข้อมูลจากปี 2556 – 2559 ปริมาณขยะมูลฝอยในจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลมาจากนักท่องเที่ยวจำนวนมากทั้งไทยและต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ จังหวัดที่มีปริมาณขยะมูลฝอยรองลงมา ได้แก่ จังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และจังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง เป็นเมืองหลักที่สำคัญของภาคใต้ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การศึกษา และการคมนาคมทั้งทางบก และทางอากาศ ที่มีการเปลี่ยนแปลงขยายตัวทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภาคใต้ ซึ่งจังหวัดตรังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญจึงทำให้มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นเฉลี่ย 659.59 ตันต่อวัน หรือ 240,745.59 ตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2559 มีขยะมูลฝอยที่ได้รับการกำจัดถูกต้อง จำนวน176,128.58 ตัน คิดเป็นร้อยละ 73.16 และการกาจัดแบบไม่ถูกต้อง จำนวน 64,617.01 ตัน คิดเป็นร้อยละ 26.84 ของขยะมูลฝอยทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยมีขยะมูลฝอยทั้งหมดที่ได้รับการคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ จำนวน 94,128.49 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 39 ของขยะมูลฝอยทั้งหมดที่รวบรวมส่งกำจัดมีการคัดแยก และแยกทิ้งขยะอันตรายออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป
      ในหมู่ที่ 10 บ้านวังหิน ตำบลอ่าวตง จังหวัดตรังจากการสำรวจ พบว่า 41.07% ไม่มีการจัดการขยะที่ถูกต้อง 84.78 % ทิ้งขยะลงถังโดยไม่ได้การคัดแยกขยะ ทางโรงพยาบาลส่งเสรมสุขภาพบ้านในปง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แกนนำชุมชน ครัวเรือนและบุคคล ในการคัดแยกขยะ
  1. ประชาชนชุมชนบ้านวังหิน มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ และประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 80
  2. ประชาชนชุมชนบ้านวังหิน สามารถคัดแยกขยะได้ถูกวิธี ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,332.00 1 12,332.00
23 ก.พ. 61 - 23 เม.ย. 62 ให้ความรู้แกนนำเกี่ยวกับการจัดการขยะ 0 12,332.00 12,332.00
  1. ประชุมวางแผนกำหนดการดำเนินงานและเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. มอบหมายหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบ กำหนดการดำเนินงานและเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติและปรับ แก้ไข
  3. จัดเตรียมประสานงานตามโครงการโดยร่วมกันหารือเรื่องสาเหตุของปัญหาและร่วมกันคิดกิจกรรมกับผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน และชาวบ้าน ดังนี้   3.1 กิจกรรมให้ความรู้ เรื่องการคัดแยกขยะ และประโยชน์จากขยะ       - ให้ความรู้กับแกนนำชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อบต. และประชาชนที่สนใจ       - เจ้าหน้าที่และแกนนำชุมชน ลงพื้นที่แต่ละโซนที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้ความรู้กับชาวบ้านทุกครัวเรือน
      3.2 กิจกรรมการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน     - จัดการประกวดโซนเพื่อแข่งขันการคัดแยกขยะในแต่ละโซนของชุมชน   3.3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์ การคัดแยกขยะ     - จัดทำป้ายรณรงค์ และสื่อความรู้ประชาสัมพันธ์ในแต่ละครัวเรือน 4.จัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ 5.ประเมินผลตามวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด     - ประชาชนชุมชนบ้านวังหิน มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ร้อยละ 80 ด้วยแบบสอบถามการมีส่วนร่วม     - ประชาชนชุมชนบ้านวังหิน มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ และประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 80 ด้วยแบบทดสอบความรู้     - ประชาชนชุมชนบ้านวังหิน สามารถคัดแยกขยะได้ถูกวิธี ร้อยละ 80 ด้วยแบบสอบถามพฤติกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนและแกนนำมีความรู้การคัดแยกขยะในระดับชุมชน ครัวเรือนและบุคคลได้ 2.ประชาชนมีความตระหนักการลดขยะในชุมชนได้อัตราน้อยลง 3.ชุมชนมีความร่วมมือเครือข่ายจากชุมชนในการจัดการขยะที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 13:55 น.