กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย ตำบลตันหยงโป
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีสน รัษฎาปริวรรต
พี่เลี้ยงโครงการ นายอัครเดช ศรียาน
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้น เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้รณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่า ปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดหนึ่งที่ประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอด จากรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออก พบว่า มีสถิติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมปี 2550 เป็น 30 - 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และบวกกับภาวะโลกร้อนนี้ทำให้ฝนตกไม่ตกตามฤดูกาลส่งผลให้เกิดโรคไข้เลือดออกซึ่งเกิดการระบาดในหน้าฝนของทุก ๆ ปี จากรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2557 พบว่า มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังต่อไปนี้ 7.76, 6.79, 48.95, 501.97, 31.91, 243.30 และ85.15 ตามลำดับ เมื่อสังเกตอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสตูล 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ลักษณะการระบาด จะเป็นแบบ ปี เว้นปี แต่ปัจจุบันในทุกปี จากข้อมูลรายงานทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง จังหวัดสตูล พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2559 เท่ากับ 134.66 ต่อแสนประชากร เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (ค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี เท่ากับ 80.58) พบว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.16 (ซึ่งตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ลดลง 20% จากค่ามัธยมฐานย้อนหลัง 5 ปี) และเมื่อเทียบกับอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี 2555 - 2560 มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังต่อไปนี้ 322.32, 0.00, 80.58, 53.72 และ 0.00 ตามลำดับ มีลักษณะการระบาด จะเป็นแบบ ปี เว้นปี จากสถานการณ์ดังกล่าวมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้นำชุมชน ช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วม มือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงโป เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อควบคุมและป้องกัน โรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มอายุ

 

0.00
2 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโรคไข้เลือดออก เพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางการดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน
  3. ประสานงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป และอาสาสมัครสาธารณสุข ทุกหมู่บ้าน
  6. เตรียมเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
  7. ดำเนินงานตามกิจกรรม โครงการที่กำหนด กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่อสม. ครู ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมอสม. น้อย พิชิตไข้เลือดออก กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในเขตพื้นที่หมู่บ้านโดยอสม.
  8. สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก รวมทั้งให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก ตลอดจนลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 09:15 น.