กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านเจาะตีเม๊าะร่วมใจต้านภัยโรคมาลาเรีย ปี 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 22 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละแอ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.466,101.186place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 496 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นทีเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านละแอ สถิติการเกิดโรคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2560 ดังนี้
หมู่ 1 บ้านละแอ 0.00,0.00 และ 188.32 ต่อประชากรแสนคน หมู่ 2 บ้านตาเป๊าะ 0.00, 0.00 และ 0.00 ต่อประชากรแสนคน หมู่ 6 บ้านเจาะตีเม๊าะ 2,723.75 , 7,269.16 และ 3,225.80 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ไม่เกิน 400 ต่อประชากรแสนคน พื้นที่หมู่ 6 บ้านเจาะตีเม๊าะ มีการระบาดของโรคทุกปี กลุ่มบ้านที่มีการระบาดมากที่สุดคือบ้านเจาะตีเม๊าะ ซึ่งจัดเป็นพื้นที่การระบาดของโรค A1 ส่วนกลุ่มบ้านปือรอและเจาะลอแง เป็นพื้นที่ A2 สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นป่า เขา สวนยาง และมีลำธารน้ำใสไหลเอื่อยๆ เหมาะแก่การเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุง Anopheles maculates ซึ่งเป็นพาหะหลักของไข้มาลาเรีย ที่มักพบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธารน้ำใสไหลเอื่อย ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพชาวสวนยางหรือลูกจ้างกรีดยางพารา ทางทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) รพ.สต.บ้านละแอ เห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเกิดเป็นโครงการบ้านเจาะตีเม๊าะร่วมใจต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการควบคุมและป้องกันโรค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี แข็งแรงสมบูรณ์และทำให้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้มาลาเรีย สามารถควบคุมและป้องกันโรคได้

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้มาลาเรีย สามารถควบคุมและป้องกันโรคได้ >80%

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน 400 ต่อประชากรแสนคน

อัตราป่วยของโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน 400 ต่อประชากรแสนคน

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ A1 , A2 ได้รับการตรวจเลือดคัดกรองหาเชื้อมาลาเรีย มากกว่าร้อยละ 80

ประชาชนในพื้นที่ A1 , A2 ได้รับการตรวจเลือดคัดกรองหาเชื้อมาลาเรีย > ร้อยละ 80

0.00
4 เพื่อให้ทุกหลังคาเรือนในพื้นที่ A 1 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างมากกว่าร้อยละ 80

หลังคาเรือนในพื้นที่ A 1 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้าง > 80%

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เริ่มดำเนินการประชาสัมพันธ์โดยการจัดทำแผ่นป้ายโครงการ เสียงตามสายหมู่บ้าน 2.อบรมฟื้นฟูศักยภาพทีม SRRT และให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่
  2. จัดกิจกรรมร่วมกันรณรงค์ทำความสะอาดบ้านเรือน ชุมชน ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามอย่างต่อเนื่อง 4.พ่นสารเคมีตกค้างในพื้นที่ A1 และ A2 จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 3-6 เดือน
  3. เจาะเลือดคัดครองหาเชื้อมาลาเรีย พื้นที่ A1 และ A2 ทุกเดือนๆละ 2 ครั้ง 6.แจกโลชั่นกันยุงตะไคร้หอมทุกหลังคาเรือน พร้อมติดตามเยี่มบ้านผู้ป่วยกรณีพบผู้ป่วย 7.ติดตาม ประเมินผล พร้อมรายงานให้ผุ้บังคับบัญชาทราบตามลำดับ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถลดอัตราผู้ป่วยไข้มาลาเรีย รวมทั้งชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้มาลาเรียเพิ่มมากขึ้นและทุกองค์กรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในพื้นที่ ตลอดจนสามารถดำเนินการควบคุมป้องกันโรคด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 10:01 น.