กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเข้าถึง เข้าใจ ห่วงใยเรื่องวัณโรค
รหัสโครงการ 61-L5248-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 14,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี ชวลิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงอุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆ ในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และเกิดจากการดื้อยา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติ ในการควบคุมวัณโรคโดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรค จากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ วัณโรคจากองค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรักษาหายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Treatment success rate) มากกว่าร้อยละ 90แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา ต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System) ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและ การแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไปจำนวนผู้ป่วยวัณโรค รพ.สต.บ้านหัวถนน ตั้งแต่ปี 2558-2560 ทั้งหมด 9 รายอัตราการรักษาหาย 5 รายและกำลังรักษาอยู่ 4 ราย เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาและทำความเข้าใจแก่พี่เลี้ยงอสม. ญาติในครอบครัวของผู้ป่วยวัณโรคเรื่องการอยู่ร่วมบ้านในขณะที่ผู้ป่วยกำลังเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องรวมทั้งการสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคให้ลดน้อยลงต่อไป ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และพัฒนาคุณภาพการเป็นพี่เลี้ยงและญาติผู้ป่วยมีความเข้าใจมากขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก 2.ประสานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม 3.จัดทำเอกสารความรู้ป้ายโครงการป้ายประชาสัมพันธ์
4. ค้นหาและตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้งในสถานบริการและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 15:54 น.