กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดเหาในเด็กและนักเรียน
รหัสโครงการ 61-L5248-3-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านยางเกาะ
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 18,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณี มหาพรหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เหาเป็นแมลงสีออกเทาๆ ขนาดยาว ๓-๔ มิลลิเมตร เกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่าPediculushumanus. แหล่งอาศัย คือ ศีรษะมนุษย์ กินขี้ไคลบนหนังศีรษะคนเป็นอาหาร เหาตัวเมียมีอายุประมาณ ๑เดือน จะไข่ที่โคลนผมประมาณ ๕-๑๐ฟองต่อวัน ไข่จะเห็นเป็นตุ่มสีขาวติดแน่นอยู่กับผม หลังจากนั้น ๑สัปดาห์ เหาออกไข่ ไข่ที่ไม่มีเหาแล้วจะยังคงติดแน่นอยู่กับผมเมื่อผมงอกยาวขึ้นไข่ก็จะเลื่อนตามไปด้วยผู้ที่มีเหาบนศีรษะและผู้ใกล้ชิดควรได้รับการตรวจจากผู้ให้บริการสาธารณสุข (เช่น แพทย์ พยาบาลเจ้าหน้าที่อนามัย) เด็กที่เป็นเหาควรหยุดโรงเรียนจนกว่าจะได้รับการรักษา เสื้อผ้าผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เครื่องเรือน พรมของผู้ป่วยที่ใช้ภายใน ๔๘ชั่วโมงก่อนการรักษาต้องได้รับการซักด้วยน้ำร้อนและอบด้วยความร้อน หรือแยกเอาไว้ ๗๒ ชั่วโมงเนื่องจากเหาไม่สามารถอยู่นอกตัวคนได้นานเกิน ๔๘ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อเด็กหรือนักเรียนคนใดเป็นเหาแล้วจะกำจัดยากมากถ้าทุกฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือโรงเรียนบ้านยางเกาะ มีนักเรียนเพศหญิงในปีการศึกษา ๒๕๖๐ เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑๓ คนระดับปฐมวัย ๑๙ คน ระดับประถมศึกษา ๕๒ คน ครูและบุคลากร ๑๖ คน ซึ่งมีเด็กและนักเรียนที่เป็นเหาร้อยละ ๙๐ ทำการกำจัดเหากันหลายครั้ง นักเรียนก็กลับมาเป็นอีก เพราะผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญ คงจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย กำจัดกันเองได้ แท้ที่จริงตัวเหาหาพบยากเพราะคลานหลบหลีกตามเส้นผมได้ เหาจะดูดเลือดที่หนังศีรษะทำให้มีอาการคันมาก เมื่อเกาบริเวณที่คันมากๆ จะทำให้หนังศีรษะถลอกเกิดเป็นแผลอาจเป็นเหตุให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ด้วยเหตุผลนี้ ทางโรงเรียนเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองและนักเรียนหญิง เรื่องวิธีการดูแลสุขภาพศีรษะทำอย่างไรอย่าให้เป็นเหาขึ้น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริกประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ มาดำเนินการจัดอบรมเชิญปฏิบัติการเด็กและนักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านยางเกาะและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ปลอดจากโรคเหาในโรงเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ มาดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนหญิงโรงเรียนบ้านยางเกาะให้ปลอดจากโรคเหาทั้งบ้านและโรงเรียน ๒.ติดต่อประสานงานและเชิญวิทยากร(ครูฝ่ายอนามัย) ให้ความรู้ สาธิต และปฏิบัติการกำจัดเหา ๓.จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการครู ครูพี่เลี้ยงเด็ก และนักเรียนเพศหญิงของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านยางเกาะและเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านยางเกาะ ๔.สรุป ประเมินผล และรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กเล็กและนักเรียนหญิงของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนบ้านยางเกาะ มีสุขภาพศีรษะปลอดจากโรคเหาร้อยละ ๙๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2561 09:36 น.