กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ตำบลบางด้วน
รหัสโครงการ 9-60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บางด้วน
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2016
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บางด้วน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.35,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง และโรคติดต่ออื่นๆ ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก และโรคฉี่หนู โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ พร้อมด้วยการบูรณาการดำเนินงานของภาครัฐภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในระดับพื้นที่ และประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน เพื่อส่งเสริมแกนนำสุขภาพประจำบ้านและผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค

พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง,โรคฉี่หนู และโรคมือ เท้า ปาก การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหาร อนามัยสิ่งแวดล้อม และการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การล้างมือสะอาดปราศจากโรค

  2. กำหนดกติกาชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

  3. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและแจ้งข่าวการระบาดของโรคติดต่อ ผ่านสื่อต่างๆ

  4. แต่งตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของหมู่บ้าน (SRRT) แต่ละหมู่บ้าน

  5. จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของหมู่บ้าน เพื่อแจ้งเตือนภัย การส่งข่าว หรือรายงานเบื้องต้นเฝ้าระวังและป้องกันโรค กรณีมีการเกิดโรคในพื้นที่ ร่วมค้นหาและติดตามผู้ป่วยสงสัย

  6. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคติดต่อและการดูแลสุขภาพที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนชุมชนได้

  2. ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของหมู่บ้าน มีความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค

  3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร่วมป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2017 11:27 น.