กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลานกะลานวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ ผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 25 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ ผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ประมาณ 10 ล้านคน จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 21 และ 24 ของประชากรรวมในอีกสิบและสิบสี่ปีข้างหน้าตามลำดับ และสังคมไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ตามนิยามของสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2568 กล่าวคือ ทุกๆ 5 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 1 คน และทุกๆ 100 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปถึง 14 คน โดยจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคนในปี 2583 ขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันอายุเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 78.4 ปี ในขณะที่ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 71.6 ปี (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2558) จากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 6,394,022 คน ในปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ร้อยละ 79 (5 ล้านคน) คือผู้สูงอายุติดสังคม หรือกลุ่มที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจกรรมต่างๆได้ และอีกร้อยละ 21 (1.3 ล้านคน) คือผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือเรียกว่ากลุ่มติดบ้านติดเตียง และต้องการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคมตำบลท่าเรือมีผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะพึ่งพิงหรือกลุ่มติดบ้านติดเตียงจำนวน15คนจากผู้สูงอายุทั้งหมด473 คน ผลการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคมร้อยละ 73.3ติดบ้าน ร้อยละ 23.10 และติดเตียงร้อยละ3.17 (ข้อมูล:งาน อผส. กองสวัสดิการสังคมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ)
จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่เอื้อให้ผู้สูงอายุเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวานซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและญาติ ตามทฤษฎีกล่าวว่าเท้าของเราเหมือนจุดพักของร่างกายเพราะเป็นที่รวมของจุดสิ้นสุดของเส้นปลายประสาทต่างๆ ที่วิ่งผ่านร่างกายการนวดฝ่าเท้าคล้ายกับการฝังเข็ม เพราะเป็นการรักษาโรคอีกวิธีหนึ่งโดยการใช้นิ้วมือหรือเครื่องมืออื่นๆ กดนวดกระตุ้นฝ่าเท้า รวมทั้งหลังเท้า และข้อเท้า ตามตำแหน่งพื้นที่สะท้อนอวัยวะนั้นๆ เพื่อปรับการทำงานของอวัยวะให้กลับสู่สภาพสมดุลตามปกติเนื่องจากมีจุดสะท้อนของอวัยวะภายในร่างกายที่ฝ่าเท้าและเท้า เช่น บริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นพื้นที่สะท้อนของศีรษะ เป็นต้น การนวดกดจุดฝ่าเท้าจึงเป็นการช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์และปรับสภาวะสมดุลของร่างกาย ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
ดังนั้นศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ (ศพอส.) จึงได้จัดทำโครงการลานกะลานวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเรือได้มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกันด้านสุขภาพ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งการนวดฝ่าเท้าเป็นการช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อช่วยการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ป้องกันปัญหาสุขภาพด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว และข้อเสื่อม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 70 ของผู้ใช้บริการลานกะนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ ได้รับการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ป้องกันปัญหาสุขภาพด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว และข้อเสื่อม

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดภาวะแทรกซอนทางระบบประสาทสวนปลาย อาการชา รวมไปถึงการสูญเสียความรูสึกของเทา

ร้อยละ 70 ของผู้ใช้บริการลานกะนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ มีภาวะแทรกซอนทางระบบประสาทสวนปลาย อาการชา รวมไปถึงการสูญเสียความรูสึกของเทาลดลง

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อใหผู้สูงอายุ ผูปวยโรคเรื้อรัง ผูปวยโรคเบาหวานและประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพ มีสวนรวมในการดูแลสรางเสริมสุขภาพดวยตัวเอง

ร้อยละ70 ผู้สูงอายุ ผูปวยโรคเรื้อรัง ผูปวยโรคเบาหวานและประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพ มีสวนรวมในการดูแลสรางเสริมสุขภาพดวยตัวเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 4,550.00 1 4,550.00
1 มี.ค. 61 - 25 ก.ย. 61 จัดทำลานกะลานวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ 60 4,550.00 4,550.00

1.ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 2.เขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ 3.ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 3.1 จัดหาผู้รับจ้างมาทำลานกะลานวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ
3.2 จัดทำป้ายไวนิลบอกคุณประโยชน์ของการใช้ลานกะลานวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ
3.3 ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุผูปวยโรคเรื้อรังผูปวยโรคเบาหวานและประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวมาใช้ลานกะนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ
3.4 ผู้สูงอายุ ผูปวยโรคเรื้อรังผูปวยโรคเบาหวานและประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว มาใช้บริการลานกะลานวดฝ่าเท้าได้ทุกวัน 3.5 ติดตามประเมินผลการใช้ลานกะนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพทุกๆ 6 เดือน จากผู้รับบริการ
4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายงานผล 5.ติดตามผลการปฏิบัติงานหลังเสร็จสิ้นโครงการโดยใช้แบบสอบถาม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ใช้บริการลานกะนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ ได้รับการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ป้องกันปัญหาสุขภาพด้านร่างกาย การเคลื่อนไหวและข้อเสื่อม 2.ผู้ใช้บริการลานกะนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ มีภาวะแทรกซอนทางระบบประสาทสวนปลาย อาการชา รวมไปถึงการสูญเสียความรูสึกของเทาลดลง
3.ผู้สูงอายุ ผูปวยโรคเรื้อรังผูปวยโรคเบาหวานและประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพ มีสวนรวมในการดูแลสรางเสริมสุขภาพดวยตัวเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2561 15:43 น.