กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการภาคีเครือข่ายร่วมใจชะลอไต (กิจกรรมวันไตโลก)
รหัสโครงการ 61-50097-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กุมภาพันธ์ 2561 - 21 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 เมษายน 2561
งบประมาณ 84,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลี ยะฝา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไต
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลก (Vanbelleghem et., 2007) หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะเกิดภาวะแทรกซ้อนกระทั่งเสียชีวิตและสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษาจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการวางแนวทางในการดำเนินงานด้านการป้องกันและชะลอการเสื่อมของไต เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่น การบริโภคอาหารที่มีรสชาด หวาน เค็ม มัน มากเกินไป จนมีผลเสียต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นโรคหัวใจโรคไตเรื้อรัง จากข้อมูลการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องของโรงพยาบาลสตูลในปีงบประมาณ 2558-2560 มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ดังนี้ 29 ,18 และ 22 รายตามลำดับ ผู้ป่วยเหล่านี้มีสาเหตุหลักจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งสามารถป้องกันได้ โดยการทำงานเป็นทีมร่วมกันของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย ในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค สาเหตุ การป้องกัน และการดูแลรักษา เพื่อกระตุ้นเตือนประชาชนและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ให้มีความรู้และเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ และหาได้ง่ายในชุมชน เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตสำหรับประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง

คะแนนเฉลี่ยการประเมินความรู้เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการปฏิบัติตัว > 80%

2.00
2 1.เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต2.เพื่อค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไตเรื้อรัง รายใหม่3.เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากรในทีมสุขภาพ ภาคีเครือข่าย กับกลุ่มผู้ป่วยและญาติ

1.ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต BP < 140/90 mmHg  ได้มากว่า 50% 2.ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C < 7 %    ได้มากว่า 40% 3.ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันไตโลก > 80%

2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 84,600.00 0 0.00
14 มี.ค. 61 1 ระยะเตรียมการและการวางแผนงาน 0 1,900.00 -
21 มี.ค. 61 การให้ความรู้ เพื่อชะลอการเสื่อมของไต เตรียมการและการวางแผนงาน - ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมวางแผนและมอบหมายความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ - กิจกรรมการดำเนินงาน - ประชาสัมพันธ์โครงการ ดำเนินการ -เตรียมความพร้อมสถานที่ อุปกรณ์ สื่อการสอน และวัสดุสาธิตในกา 0 82,700.00 -

กิจกรรมที่ 1 คืนข้อมูลสู่ชุมชน ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการและการวางแผนงาน - เชิญประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลการเจ็บป่วยและการบำบัดทดแทนไตสำหรับชุมชน - ร่วมวิเคราะห์ปัญหา/สาเหตุการเจ็บป่วยกับชุมชน - ร่วมวางแผนการแก้ไขปัญหา/สาเหตุการเจ็บป่วยโดยชุมชน ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการ -เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ และมอบหมายความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ ระยะที่ 3 ระยะประเมินผล -สรุปปัญหาผลการดำเนินงานกิจกรรม การให้ความรู้ เพื่อชะลอการเสื่อมของไต ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการและการวางแผนงาน - ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมวางแผนและมอบหมายความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ - เสนอกิจกรรมการดำเนินงานเพื่อขออนุมัติ - ประชาสัมพันธ์โครงการ ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการ -เตรียมความพร้อมสถานที่ อุปกรณ์ สื่อการสอน และวัสดุสาธิตในการล้างไตทางช่องท้อง -จัดกิจกรรม
ระยะที่ 3 ระยะประเมินผล -สรุปปัญหาผลการดำเนินงานกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อชะลอการเสื่อมของไต
  2. ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. ตำบลฉลุงเป็นชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งในการดูแลสุขภาพโดยชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561 13:10 น.