กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam For Food)
รหัสโครงการ 60-L7258-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 พฤศจิกายน 2559 - 30 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2560
งบประมาณ 72,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหาร โดยความหมายของคนโดยทั่วไป มักหมายถึง สิ่งที่นำมาบริโภคเพื่อความอยู่รอดของชีวิต โดยมีหน้าที่เสริมสร้างร่างกาย ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ฉะนั้นความปลอดภัยของอาหารจากสารปนเปื้อนและสารพิษ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี แต่จุดที่มักถูกมองข้าม คือ การปนเปื้อนจากภาชนะบรรจุอาหารเอง อันตรายที่เกิดจากสารเคมีของภาชนะบรรจุอาหาร มักไม่ได้รับความสนใจ หรือเพิกเฉย เนื่องจากมิได้เกิดในทันทีทันใด แต่หากจะค่อย ๆ สะสม จนเกิดอันตราย ภาชนะบรรจุอาหาร หมายความรวมถึง วัตถุที่ใช้บรรจุอาหารไม่ว่าจะด้วยการใส่ห่อ หรือด้วยวิธีใด ๆ โดยอาหารแต่ละชนิดมีความต้องการภาชนะบรรจุแตกต่างกัน นอกจากนี้ภาชนะบรรจุต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมาย คือ ต้องเป็นภาชนะมีคุณภาพ สะอาดไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสี หรือโลหะหนัก ออกมาปนเปื้อนกับอาหารในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เป็นเวลากว่า ๕๐ ปีแล้ว ที่พลาสติกและโฟมถูกใช้แทนใบตอง กระดาษ โลหะหรือแก้ว ในการบรรจุอาหาร อาจเนื่องมาจาก พลาสติกและโฟม สามารถทำให้เกิดรูปทรงตามที่ต้องการได้ง่าย มีน้ำหนักเบาและราคาถูก จึงเป็นที่นิยมสืบต่อเรื่อยมา แต่จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่ตระหนักถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในภาชนะบรรจุที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกล่องโฟมมักถูกนำมาบรรจุอาหารที่ทอดร้อน ๆ และมีน้ำมันขึ้นจากเตาใหม่ ๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวกระเพาไข่ดาว ผัดไทย หอยทอด เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถละลายสารบางชนิดออกจากกล่องโฟม และปนเปื้อนสู่อาหารได้นอกจากนี้การใช้โฟมอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เป็นภาระในกองขยะ ถูกฝังกลบอยู่ในดิน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1,000 ปี กว่าที่จะย่อยสลายได้ จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยสร้างขยะประเภทโฟมเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ใบ/คน/วัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า วิถีชีวิต สังคม และพฤติกรรมของคนไทยในปัจจุบันตระหนักถึงความสะดวกสบาย และความรวดเร็ว มากกว่าผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสังคมในเมือง หรือสถานที่ ที่มีการรวมตัวกันของประชาชนเป็นจำนวนมาก จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ โดยถูกทิ้งเป็นขยะด้วยปริมาณและสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นขยะที่มีความคงทนและสามารถทนต่อแรงอัดได้สูง และใช้เวลานานในการย่อยสลายอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษ สิ้นเปลืองงบประมาณ และพื้นที่ฝังกลบได้ กระบวนการกำจัดขยะโฟมจึงต้องมีความระมัดระวัง และปลอดภัยมากที่สุด คือจะต้องมีการเผาโฟมในอุณหภูมิให้อยู่ภายใต้การควบคุมที่ถูกต้อง เพื่อเลี่ยง ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประชาชน นอกจากนี้ เมื่อถูกนำไปใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัดจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาจากภาชนะโฟมได้อีกด้วย เช่น สารสไตรีน (styrene) และ เบนซิน (Benzene) ที่มีส่วนในการทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต มีผลต่อประสาท ส่วนกลางและส่วนปลายที่ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี รวมทั้งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้จำนวนเม็ดเลือดลดลงและทำลายระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้ ในเขตพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่เองก็เช่นกัน พ่อค้าแม่ค้าอาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูป มักนิยมใช้กล่องโฟม เป็นภาชนะบรรจุอาหาร เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว โดย ซึ่งผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารจำนวนมากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค เนื่องจากกล่องโฟมเมื่อสัมผัสกับอาหารร้อนจัดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ภาชนะเสียรูปและอาจหลอมละลายจนมีสาร “สไตรีน” ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารที่บรรจุอยู่ได้ โดยปริมาณการละลายออกมาของ สไตรีนจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง คือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้มีการละลายออกมาของสไตรีนมากกว่าอาหารที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ
โดยในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ตลาดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่าและแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ๑โดยรูปแบบของการดำเนินงาน คือ ตรวจสอบ ให้ความรู้คำแนะนำ สร้างความตระหนักถึงปัญหา รณรงค์ลดการใช้กล่องโฟม ในการบรรจุอาหาร และประเมินผล อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและการเลือกใช้ภาชนะบรรจุที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อุปโภค บริโภคได้อาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ
สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม จึงขอเสนอโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้โฟม (No Foam For Food) เพื่อลดปริมาณการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ในกลุ่มผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคและลดปัญหามลพิษที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร

ผู้ประกอบการค้าอาหาร เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร

2 เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม

รณรงค์ให้ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟม

3 เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม

ผู้ประกอบการค้าอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.เสนอโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครหาดใหญ่ ๒.จัดซื้อ/จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ๓.สำรวจสถานการณ์ปัจจุบันในการใช้โฟมบรรจุอาหาร ๔.จัดทำแผ่นพับเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการและสร้างเสริมความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ ๕.จัดการประชุมชี้แจงสถานการณ์และอันตรายจากการใช้โฟมแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร ประเภทแผงลอยฯ ๖.จัดกิจกรรมส่งเสริม/กระตุ้น รณรงค์ลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร ๗.ตรวจประเมินกลุ่มเป้าหมาย

๘.สรุปผลการดำเนินงาน และมอบป้าย “ร้านนี้ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร”ให้แก่แผงลอยจำหน่ายอาหารที่เลิกใช้โฟม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงาน หาดใหญ่สนุกทุกเสาร์ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ (Hatyai Walking Street) ตลาดนัดอาเชี่ยนเทรดพลาซ่าและแผงลอยจำหน่ายอาหารบริเวณถนนนิพัทธ์สงเคราะห์
2.มีการลดปริมาณการใช้โฟม 3.ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคมีความเข้าใจ ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและสามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม 4.มีพื้นที่ต้นแบบปลอดโฟมในการบรรจุอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 10:17 น.