กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L7258-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2560
งบประมาณ 1,122,385.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมานาน และยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศเขตร้อนชื้น พบมีความรุนแรงมากที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการระบาด ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ระยะแรกๆ พบมีอัตราตายสูงมาก ปัจจุบันอัตราตายลดลงมาก เนื่องจากการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ การรักษาพยาบาลที่มีการพัฒนามาตรฐานให้เหมาะสมกับพัฒนาการของโรค และประชาชนมีความรู้ในการดูแลตัวเองมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามไข้เลือดออกยังเป็นโรคที่อันตรายเนื่องจากพบการระบาดและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตทุกปี โดยปกติแล้วโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในฤดูฝน คือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน หรือเดือนตุลาคมของทุกปี แต่ทั้งนี้สภาพภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ช่วงเวลาที่โรคไข้เลือดออกระบาดมีความแตกต่างกัน สำหรับจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้เลือดออกตลอดทั้งปี พบมากในช่วงเดือนเมษายน และเดือนสิงหาคม สถานการณ์ไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ข้อมูลย้อนหลัง ๔ ปี พบว่า ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๑,๑๖๕ ราย เสียชีวิตจำนวน ๒ ราย ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๗ ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ พบผู้ป่วย ๒๕๐ คน ไม่มีผู้เสียชีวิต ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ พบผู้ป่วยจำนวน ๒๐๑ คน ไม่มีผู้เสียชีวิต ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๙ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙พบผู้ป่วย ๑๘๐ คน มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย สถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงจากปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ แต่มีผู้เสียชีวิต จากข้อมูลดังกล่าว สรุปได้ว่าไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ต้องมีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความต่อเนื่อง ปัญหาพื้นฐาน และเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดปัญหาการระบาดของโรค เกิดจากสภาวะสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องควบคุม รวมทั้งปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย แหล่งเพาะพันธุ์โรค การเฝ้าระวัง สำรวจ กำจัดลูกน้ำอย่างเนื่อง ต้องมีการบูรณาการ การทำงานเชิงรุกจากทุกภาคส่วนในชุมชนหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานร่วมกัน อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาไข้เลือดออกแบบยั่งยืน และมีความเหมาะสมตามบริบทของชุมชน ประชาชนที่อยู่ในชุมชนจะต้องร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมติดตามประเมินผล ท้ายสุดชุมชนจะเกิดความภาคภูมิใจเมื่อการดูแลเรื่องไข้เลือดออกของชุมชนประสบความสำเร็จ และเกิดนวตกรรมของชุมชนที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาไข้เลือดออก การดูแลสุขภาพของประชาชนให้ปลอดจากโรคเป็นหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครหาดใหญ่พร้อม ๆ กับการดูแลสุขภาพของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีกำจัดยุงให้ปลอดภัย จากการใช้สารเคมีเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกันที่จะต้องปฏิบัติควบคู่กันเพื่อให้การดำเนินงานฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงมีความปลอดภัยต่อประชาชน และผู้ปฏิบัติงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัด หรือควบคุมแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางเคมีภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมให้ความรู้ชุมชน 2.สำรวจภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายทุกครัวเรือนที่อยู่ในชุมชน
3.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุ 4.จัดกิจกรรมชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลงเปรียบเทียบก่อน และหลังดำเนินโครงการ ๒.เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน มีการพึ่งตนเองเกิดเป็นชุมชนจัดการสุขภาพ ๓.ประชาชนเกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือในชุมชนตลอดจนมีความรู้
และพฤติกรรมในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔.เกิดนวตกรรมของชุมชนในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก ๕.เกิดเครือข่ายป้องกันโรคไข้เลือดออก ๖.สร้างความรับผิดชอบและตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน ๗.เกิดชุมชนต้นแบบในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 14:27 น.