กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การดำเนินงานตามโครงการทันตกรรมเชิงรุก SMART Children ประจำปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อบริการทันตกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพฟัน หยุดการลุกลามของภาวะฟันผุในเด็กปฐมวัย และให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในแต่ละช่วงวัย โดยกำหนดดำเนินกิจกรรมตามโครงการในวันที่ 14,20-21และ 27-28 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ จำนวน 5 ศูนย์ ผลการดำเนินงานในภาพรวมพบว่าเด้กปฐมวัยที่ได้รับการบริการทันตกรรมเชิงรุก SMART TECHNIQUE จำนวน 160 คน จากเด็กจำนวน 206 คน คิดเป็นร้อยละ 77.67 และจำนวนเด้กที่มีฟันกรามหลังผุสามารถอุดได้ จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 47.09 หากจำแนกเป็นศูนย์ พบว่า เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผัง 120 ได้รับการบริการทันทันตกรรมเชิงรุก SMART TECHNIQUE จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 83.67 รองลงมาเป็นศูนย์พัฒนาเด้กเล็กบ้านอุใดเหนือ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอุใดใต้ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 78.57 ศูนย์พัฒนาเด้กเล็กบ้านอุใดเหนือ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนนิคมพัฒนาภาคใต้ 3 จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 77.27 และศูนย์พัฒนาเด้กเล็กตำบลอุใดเจริญ จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ตามลำดับ เมื่อจำแนกเด็กปฐมวัยที่มีฟันกรามหลังผุสามารถอุดได้ในภาพรวมเฉลี่ยคนละ 2-3 ซี่ และเคลือบหลุมร่องฟันในภาพรวมเฉลี่ยคนละ 5-6 ซี่ สำหรับกิจกรรมตามโครงการทันตกรรมเชิงรุก SMART Children ประจำปีการศึกษา 2561 ประกอบด้วย

  1. กิจกรรมตรวจฟันเด็กปฐมวัย และบันทึกผลการตรวจฟันของเด้กปฐมวัยเป็นรายบุคคล

  2. กิจกรรมให้บริการทันตกรรมแก่เด้กปฐมวัย ได้แก่ อุดและเคลือบหลุมร่องฟันน้ำนมด้วยเทคนิค SMART และบันทึกผลการรักษาเป็นรายบุคคล

บรรลุตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากเด็กปฐมวัยได้รับการบริการทันตกรรมมากกว่าร้อยละ 70

ปัญหา/อุปสรรค  / มี

  1. ผู้ปกครองบางท่านไม่อนุญาติให้ทำกิจกรรม จำนวน 12 ราย

  2. มีผู้ปกครองบาง่ทานไม่นำเอกสารมาคืนครูผู้ดูแลเด็กประจำศูนย์ฯ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้บริการทางทันตกรรมได้

  3. เด็กปฐมวัยบางรายไม่ได้มาตามกำหนดทำให้ไม่ได้รับบริการทางทันตกรรม

แนวทางการแก้ไข

  1. ก่อนการกรอกแบบขออนุญาต ต้องเพิ่มกิจกรรมให้เข้าใจและอธิบายให้ผู้ปกครองถึงขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงวิธีการอุดฟันด้วย SMART TECHNIQUE และผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัย

  2. การกรอกแบบขออนุญาตให้ผู้ผู้ปกครองกรอกที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและส่งคืนครูผู้ดูแลเด็กในทันทีเพื่อป้องกันการลืมส่งเอกสาร

  3. กำชับและเตือนกำหนดการให้ผู้ปกครองทราบล่วงหน้าก่อนการดำเนินกิจกรรม

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อบริการทันตกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพฟัน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพฟัน ได้รับบริการทางทันตกรรม
225.00 206.00

 

2 เพื่อหยุดการลุกลามของภาวะฟันผุ ในเด็กปฐมวัย
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยได้รับบริการอุดฟันเพื่อ ยับยั้งการลุกลาม
225.00 206.00

 

3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีไม่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีมีพัฒนาการเป็นไปตามช่วงอายุ
225.00 206.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 225
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 225
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

(1) เพื่อบริการทันตกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพฟัน

(2) เพื่อหยุดการลุกลามของภาวะฟันผุ ในเด็กปฐมวัย

(3) เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีไม่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

(1) กิจกรรมตรวจฟันเด็กปฐมวัย

(2) กิจกรรมให้บริการทันตกรรมแก่เด็กปฐมวัย

ผลการดำเนินงานในภาพรวมพบว่าเด้กปฐมวัยที่ได้รับการบริการทันตกรรมเชิงรุก SMART TECHNIQUE จำนวน 160 คน จากเด็กจำนวน 206 คน คิดเป็นร้อยละ 77.67 และจำนวนเด้กที่มีฟันกรามหลังผุสามารถอุดได้ จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 47.09 หากจำแนกเป็นศูนย์ พบว่า เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผัง 120 ได้รับการบริการทันทันตกรรมเชิงรุก SMART TECHNIQUE จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 83.67 รองลงมาเป็นศูนย์พัฒนาเด้กเล็กบ้านอุใดเหนือ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอุใดใต้ จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 78.57 ศูนย์พัฒนาเด้กเล็กบ้านอุใดเหนือ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนนิคมพัฒนาภาคใต้ 3 จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 77.27 และศูนย์พัฒนาเด้กเล็กตำบลอุใดเจริญ จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ /ไม่มี

ปัญหา/อุปสรรค  / มี

  1. ผู้ปกครองบางท่านไม่อนุญาติให้ทำกิจกรรม จำนวน 12 ราย

  2. มีผู้ปกครองบาง่ทานไม่นำเอกสารมาคืนครูผู้ดูแลเด็กประจำศูนย์ฯ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้บริการทางทันตกรรมได้

  3. เด็กปฐมวัยบางรายไม่ได้มาตามกำหนดทำให้ไม่ได้รับบริการทางทันตกรรม

แนวทางการแก้ไข

  1. ก่อนการกรอกแบบขออนุญาต ต้องเพิ่มกิจกรรมให้เข้าใจและอธิบายให้ผู้ปกครองถึงขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงวิธีการอุดฟันด้วย SMART TECHNIQUE และผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัย

  2. การกรอกแบบขออนุญาตให้ผู้ผู้ปกครองกรอกที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและส่งคืนครูผู้ดูแลเด็กในทันทีเพื่อป้องกันการลืมส่งเอกสาร

  3. กำชับและเตือนกำหนดการให้ผู้ปกครองทราบล่วงหน้าก่อนการดำเนินกิจกรรม

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh