กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อย.น้อยในโรงเรียน
รหัสโครงการ 60-L7258-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 พฤศจิกายน 2559 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2560
งบประมาณ 66,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าซึ่งในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกซ์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ อีกทั้ง หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ ดังนั้น การให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร จึงควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ ที่สุด คือในวัยเด็กที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วเพื่อที่จะปลูกฝังให้เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดไป ไม่ว่าเด็กจะเติบโตขึ้นเป็นเพียงผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการผลิตอาหารเองด้วยในอนาคตก็ตาม การตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร ความสะอาด รู้จักดูแล หยิบจับเก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้อง การรู้จักปกป้องตนเอง รู้จักการเลือก สังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้นอกจากนี้กิจกรรมที่ อย.น้อย ทำ ได้แก่ การตรวจสอบอาหารที่จำหน่ายภายใน/รอบๆ โรงเรียน และตลาดสดหรือชุมชนใกล้เคียง ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น เช่น ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารกันรา สารฟอกขาว จุลินทรีย์ในน้ำ เป็นต้น การให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บอร์ดความรู้ เสียงตามสาย พูดหน้าเสาธง กิจกรรมการแสดง รายการทางโทรทัศน์วงจรปิด เป็นต้น การรณรงค์ให้ความรู้ในชุมชน เช่น การเดินรณรงค์ การแจกเอกสารความรู้ การให้ความรู้ทางหอกระจายข่าวหรือวิทยุชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการบูรณาการความรู้ด้านอาหารและยาเข้าไปกับหลักสูตรการเรียนการสอน และอย.น้อย ยังเอื้ออาทรไปยังโรงเรียน ระดับประถมศึกษาที่อยู่ใกล้เคียง ด้วยการไปให้ความรู้และการตรวจสอบอาหารให้ด้วย ในลักษณะ “พี่สอนน้อง”ยังช่วยให้เพื่อนนักเรียน และครอบครัวมีความรู้ และเกิดการพัฒนา ปรับปรุงการจำหน่ายอาหารภายในโรงเรียน รวมทั้งการปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ นักเรียน อย.น้อย ยังได้รับการพัฒนาเรื่องการคิด การวางแผนการทำงาน การแสดงออก และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน อย.น้อย โรงเรียนอื่น ๆ ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายขึ้น กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมได้เล็งเห็นความสำคัญของเยาวชนและสอดคล้องกับภารกิจการถ่ายโอนอำนาจจาก อย. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภค ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ จึงได้จัดการอบรมให้ความรู้แก่ อย.น้อย ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่๑๐แห่งจำนวน๑๐๐คนเมื่อวันที่๑ธันวาคม๒๕๕๗ตั้งแต่เวลา๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐น.ณหอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ซึ่งมีตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนในเขตเทศบาลเข้าร่วมอบรม จำนวน๑๐แห่งได้แก่โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์)โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน)โรงเรียนธิดานุเคราะห์โรงเรียนพณิชยการหาดใหญ่ (แผนกพณิชยการ)โรงเรียนพณิชยการหาดใหญ่ (แผนกมัธยมศึกษา)โรงเรียนสหศาสตร์วิทยาคารโรงเรียนกอบกาญจน์ศึกษาโรงเรียนศรีนครและโรงเรียนสมานคุณวิทยาทานซึ่งในปัจจุบันแต่ละโรงเรียนดังกล่าวข้างต้นยังไม่มีการจัดตั้งชมรม อย.น้อยและการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรมเนื่องจาก อย.น้อยที่ผ่านการอบรมไปแล้วได้จบการศึกษาออกไปและการส่งเสริมการดำเนินงานของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน้อยจึงเห็นควรจัดการอบรม อย.น้อยพร้อมการจัดตั้งชมรม อย.น้อยในโรงเรียนขึ้นและดำเนินการสนับสนุนการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีต่อตัวผู้บริโภคเอง

 

2 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู อาจารย์ พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่นในโรงเรียนและชุมชน ให้ตระหนักในความปลอดภัยในการบริโภค และการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อสุขภาพผู้บริโภค

 

3 เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียน และบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดอบรม อย.น้อย และครูผู้ดูแลฯ 2.จัดประชุมพร้อมศึกษาดูงานเพื่อเป็นการเรียนรู้และศึกษาสถานการณ์จริงแบบตระหนักในการแก้ไขปัญหาและทักษะของตัวแทน อย.น้อย 3.การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม อย.น้อยในโรงเรียน 4.กิจกรรมประชุมสรุปผลการดำเนินงาน/ประกวดโครงงาน อย.น้อย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ด้านปริมาณ - นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อย่างน้อยจำนวน๑๐ แห่ง มีการจัดตั้งกลุ่ม อย.น้อยในโรงเรียนเพื่อดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน 2) ด้านคุณภาพ - นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่มีการจัดตั้งกลุ่ม อย. น้อยในโรงเรียนขึ้นสามารถดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนด้วยวิธีการสุ่มตรวจสอบ วิเคราะห์อาหารในโรงเรียนเป็นระยะเวลาสม่ำเสมอ ตลอดปีการศึกษา มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียน และบุคคลอื่น ๆ ในโรงเรียน - นักเรียน ครู พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 14:40 น.