กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูลหน่วยบริการละงู
รหัสโครงการ 61-L5313-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูลหน่วยบริการละงู
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุบิน เล่งเจ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมื่อบุคคลไม่สามารถเปล่งเสียงพูดได้อย่างถูกต้อง ไม่สามารถพูดได้อย่างราบรื่น หรือมีปัญหาเกี่ยวกับเสียงของตนเอง ถือว่าบุคคลนั้นมีความบกพร่องทางการพูด(Speech Impairment) ซึ่งครอบคลุมลักษณะตั้งแต่ปัญหาความยากลำบากในการออกเสียง หรือความผิดปกติในการออกเสียง(Articulation Disorders) รวมถึงการพูดติดอ่าง(Stuttering) เมื่อบุคคลมีปัญหาในการรับรู้และเข้าใจภาษา(Receptive Language)หรือมีทักษะในการใช้ภาษาบกพร่อง(Expressive language) ถือว่าบุคคลนั้นมีความบกพร่องทางภาษา(Language Impairment ) ทั้งนี้ ผู้ใหญ่และเด็กต่างสามารถประสบปัญหาความบกพร่องทางการพูดและภาษาได้ โดยสาเหตุของความบกพร่องอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย หรืออาจเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ สำหรับความบกพร่องทางการพูดและภาษาที่ส่งผลกระทบต่อเด็กนั้นมีหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม อาจจำแนกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ตามลักษณะของควาผิดปกติ ได้แก่ การออกเสียง (Articulation) โดยเด็กจะมีปัญหาในการออกสียงไม่ถูกต้อง หรือพูดไม่ชัด
ความคล่อง(Fluency) เด็กมักมีพฤติกรรมการพูดซ้ำ พูดลากเสียงยาว หรือการละเสียง พยางค์ หรือคำบางคำ นอกจากนี้ปัญหาอาจเกิดจากการหยุดชะงักของการออกเสียง การหายใจเข้า-ออกที่ผิดวิธี หรือหลักการออกเสียงที่ไม่ถูกต้อง เสียงพูด(Voice) โดยเด็กจะมีคุณภาพเสียงที่ผิดปกติ เช่น ระดับสูงต่ำของเสียง ความก้อง และความดังของเสียง
ภาษา(Language)โดยเด็กจะมีปัญหาในการใช้ภาษาเพื่ออธิบายถึงสิ่งที่ต้องการ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงไม่สามารถเข้าใจสิ่งท่ผู้อื่นพูดได้อีกด้วย นอกจากนี้ ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า"ความบกพร่องทางการพูดและภาษา" แตกต่างไปจาก "การพัฒนาภาษาล่าช้า(Language delay)" ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากอาจเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของปัญหา วิธีการรักษา และความเร่งด่วนในการรักษาทั้งนี้เพราะพัฒนาการล่าช้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียนจำนวนประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 ถือเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในกระบวนการเจริญเติบโตและเรียรรู้ของเด็ก กล่าวคือ เด็กยังคงมีพัฒนาการไปตามลำดับ เพียงแต่ช้ากว่าปกติเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน ปัญหาความบกพร่องทางการพูดและภาษา ถือเป็นลักษณะความพิการอันเกิดจากพัฒนาการางการพูดและภาษาที่ผิดปกติ โดยหากเด็กได้ัรับการยืนยันว่ามีความบกพร่องทางการพูดและภาษา การเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนและครบวงจรด้วยความร่วมมือระหว่างแพทย์ นักโสตสัมพัสวิทยา(Audiologist) นักพยาธิวิทยาด้านการพูดและภาษา(Pathologist)รวมไปถึงการดูแลอย่างไกล้ชิดจากครู และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครอง ย่อมหมายถึงประสิทธิภาพการรักษาที่มากขึ้นและความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาที่สูงขึ้น อันจะส่งผลให้เด็กสามารถเอาชนะความบกพร่องทางการพูดและภาษาของตนเอง รวมทั้งสามารถมีพัฒนาการที่เหมาะสม และใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขในระยะยาว ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูลหน่วยบริการละงู ได้เห็นความสำคัญของการฝึกพูดสำหรับเด็กพิการที่มีความพกพร่องทางการพูดและภาษา โดยเฉพาะการให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล อพม. ครูโรงเรียนเรียนรวม บุคลากรศูนย์ฯสตูลได้มีความรู้ และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการกลุ่มนี้ให้มีพัฒนาการด้านการพูดที่ดีขึ้นโดยได้รับหลักวิชาการที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจัหวัดสตูล หน่วยบริการละงู เพื่อเตรียมความพร้อมและเด็กพิการในตำบลละงูมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพิการ อพม.ต.ละงู ครู โรงเรียนเรียนรวม ในตำบลละงู และบุคลากรศูนย์ฯ สามารถประเมินความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางภาษาและการพูดรวมถึงการกลืนได้

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพิการ อพม.ตำบลละงู ครูโรงเรียนเรียนรวม ในตำบลละงู บุคลากรศูนย์สตูลจำนวน 64 คน สามารถประเมินสภาพความผิดปกติทดสอบความสามารถทางภาษาและการพูดรวมถึงการกลืนได้

80.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพิการ อพม.ต.ละงู ครู โรงเรียนเรียนรวม ในตำบลละงู และบุคลากรศูนย์ฯ ละงู สามารถแยกประเภทความผิดปกติ และให้การบำบัดรักษาแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพ ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติทางภาษาและการพูดได้

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพิการ อพม.ตำบลละงู ครูโรงเรียนเรียนรวม ในตำบลละงู บุคลากรศูนย์สตูล  จำนวน 64 คน สามารถแยกประเภทความผิดปกติและให้การบำบัดรักษาแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพ ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติทางภาษาและการพูดได้

80.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพิการ อพม.ต.ละงู ครู โรงเรียนเรียนรวม ในตำบลละงู และบุคลากรศูนย์ฯ ละงู สามารถฝึกเด็กพิการ และให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ปกครอง ญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของเด็กพิการและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพิการ อพม.ต.ละงู ครู โรงเรียนเรียนรวม ในตำบลละงู และบุคลากรศูนย์ฯ ละงู สามารถฝึกเด็กพิการ และให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ปกครอง ญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของเด็กพิการและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,800.00 1 24,800.00
6 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกพูดสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาโดยนักอรรถบำบัด 0 24,800.00 24,800.00

1.จัดทำโครงการ 2.เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 3.แต่งตั้งคณะทำงานและประชุมชี้แจงคณะทำงานในการจัดเตรียมการดำเนินงาน 4.ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 5.ประเมินผลโครงการ สรุปและรายงานผลโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลละงู

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กพิการได้รับการประเมินสภาพความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน 2.เด็กพิการได้รับการแยกประเภทความผิดปกติ และให้การบำบัดรักษาแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพ ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติทางภาษาและการพูด 3.ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพิการ อพม.ต.ละงู ครูโรงเรียนเรียนรวม ในตำบลละงู บุคลากรศูนย์ฯสตูล มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของเด็กพิการและเรียนรู้วิธีการรักษาดูแลที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 11:39 น.