กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การพัฒนาระบบผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ L5301-61-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 23,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรภัทรมรรคาเขต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขัน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.633,100.036place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุุบันนปํัญหาสุขภาพคนไทยเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ มะเร็งซึ่งมีผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ลดต่ำลงจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของปลายปราสาท จอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคไต ถึงแม้โรคเหล่านี้จะเป็นโรคเรื้อรังที่ยากต่อการรักษาให้หายขาด เพราะเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลตนเองให้ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นจช่วยลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคแทรกซ้อนบางอจงอย่างอาจป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการพัฒนาศักยภาพการดูแล เพื่อป้องกันและควบคุมโรคจะสามารถลดการป่วย พิการ และตายจากโรค จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขัน มีการสำรวจและรายงานการขึ้นทะเบียนในปีงบประมาณ 2558-2560 มีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนด้วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งตำบลที่รักษา รพ.สต.และสถานบริการอื่่น) จำนวน 574 ราย 627 ราย และ 688 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทึกปี โดยทาง รพ.สต.ควนขัน ได้ให้บริการคลินิกเรื้อรังโดยสหวิชาชีพและ อสม.เพื่อให้บริการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้สะดวก ลดระยะเวลาในการไปรอรับบริการที่โรงพยาบาล
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขัน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา และการมีส่วนร่วมของชุมชนจึงได้ทำโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังโดยการจัดตั้งทีมงานจิตอาสา สร้างเครือข่ายจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ที่มีความตั้งใจ และเสียสละ ที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ โครงการนี้ได้เน้นไปที่การรักษา ให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและตรวจเยี่ยมดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยประสานงานกับโรงพยาบาลสตูล ส่งแพทย์และพยาบาลมาตรวจรักษาและให้คำแนะนำต่าง ๆ ในคลินิก นักกายบำบัด ดูแล ฟื้นฟู ผู้ป่วยผู้พิการอสม.แกนนำชุมชน ที่มีจิตอาสาออกเยี่ยมเยือนติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนนำมาพัฒนาสุขภาวะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลและรับการรักษาตามมาตรฐานคลินิกคุณภาพ

 

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

 

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และมีความพึงพอใจในการับบริการ

 

0.00
4 4.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

 

0.00
5 5.เพื่อลดปัญหาการขาดนัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

0.00
6 6.เพื่อการติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการประสานงานที่รวดเร็วขึ้น

 

0.00
7 7.เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลได้ร่วมกิจกรรม Self Health Group

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,000.00 0 0.00
31 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ประชุมชี้แจงโครงการ 0 600.00 -
31 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมตรวจสุขภาพ เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและให้ความรู้แก่ผู้รับบริการในคลินิก 0 14,400.00 -
31 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Self Health Group (จำนวน 2 รุ่น) 0 8,000.00 -

1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ รถ.พ.สต.แกนนำ อสม และผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพ เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนและให้ความรู้แก่ผู้รับบริการในคลินิก 3.จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Self Health Group (จำนวน 2 ครั้ง)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธฺภาพและครอบคลุมทุกด้าน โดยทีมสหวิชาชีและทีมงานจิตอาสา 2.ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง และสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง 3.การมารับการรักษาพยาบาล ด้วยภาวะเเทรกซ้อนลดน้อยลง 4.ชุมชนมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบสุขภาพของประชาชนในชุมชน 5.ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และสามารถนำไปใช้ในการให้การดูแลผู้ป่วยรายอื้นได้ 6.การจัดตั้งชมรมหรือเครือข่ายของผู้ป่วยโรคเรื้อรังทีมงานจิตอาสา เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7.การคงไว้ซึ่งระบบและความยั่งยืนของโครงการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2561 10:19 น.