กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสาร่วมใจคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน(อย.น้อย)
รหัสโครงการ 61-L4150-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุข อบต.ยะหา
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 38,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจารุวรรณ คงทน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวธัญลักษณ์ มโนกิตติพันธ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.504,101.125place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา ได้เล็งเห็นความสำคัญของ เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน โดยการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนสมาชิก อย.น้อย มีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบและเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประกอบกับ อย.น้อย จะมีการสับเปลี่ยน หมุนเวียนการทำหน้าที่ ทำให้การทำงานบ้างครั้งไม่ต่อเนื่อง เพราะขาดความรู้และทักษะที่จะนำไปปฏิบัติ ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จึงได้จัดอบรมอย.น้อย ในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลยะหาเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่อย.น้อย เพื่อช่วยให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินงาน 2.ดำเนินงานตามกิจกรรมดังนี้ 2.1 ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังกลุ่มเป้าหมาย 2.2 จัดอบรมให้ความรู้ภาคทฤษฎี เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารแก่เป้าหมาย 2.3 ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารจากกลุ่มตัวอย่างอาหารที่วางขายรอบ บริเวณโรงเรียน 2.4 สรุปประเมินผลกิจกรรมดำเนินการของโครงการ 2.5 รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว ๒. อย.น้อยได้พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน ๓. เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ๔. นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี เช่น ไม่บริโภคน้ำอัดลม ไม่บริโภคอาหารขยะบริโภคนม ผัก ผลไม้ การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง อ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2561 11:07 น.