กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนอัยเยอร์เวงใส่ใจลูกน้อย มีพัฒนาการสมวัยและได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
รหัสโครงการ 60-L4131-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2560 - 30 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,648.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอฟฟาน แปแนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 871 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการส่งเสริมพัฒนาการเพื่อให้การดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์สูงที่สุด บุคลากรที่เกี่ยวข้องควรทราบนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย ซึ่งหากเด็กกลุ่มวัยดังกล่าววัยดังกล่าวมีอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแล้วหมู่บ้านชุมชนและประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไรในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไป งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะพยายามป้องกันประชาชนจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากที่สุด โดยการเพิ่มชนิดของวัคซีนที่ใช่ ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขของประเทศและต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ โดยประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการพัฒนาการ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด และเกิดประโยชน์สูงที่สุดแก่ประชาชน สำหรับเด็ก 0 – 5 ปี การส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมให้ได้รับวัคซีนตามวัย ส่งเสริมให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย มีร่างกายที่แข็งแรง สติปัญญาที่ฉลาด สุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญในการดูแลเด็กให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามเกณฑ์พื้นฐาน ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย จากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่าเด็ก 0 – 5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนและประเมินพัฒนาการและโภชนาการทุกคน เพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อทำความเข้าใจเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอัยเยอร์เวง 2. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเพื่อติดตามให้มารับวัคซีนตามเกณฑ์ ขั้นดำเนินงาน 1. จัดอบรม ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 เพื่อให้มีส่วนร่วมในการติดตามเด็กที่รับวัคซีนและมารับการประเมินพัฒนาการ 2. แจ้งแผนการปฏิบัติการและรูปแบบการติดตาม 3. จัดทำสื่อป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์แก่เด็กที่มารับการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์และประเมินพัฒนาการ 4. จัดบอร์ดนิทรรศการเรื่องรายละเอียดของโรคในสถานบริการและในชุมชน 5.เจ้าหน้าที่และ อสม.มีการออกหน่วยให้บริการในเชิงรุก ขั้นหลังดำเนินการ 1. ติดตามความครอบคลุมของการให้บริการในกลุ่มเป้าหมายทุกเดือน 2. ให้สื่อประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และรับการประเมินพัฒนาการ 3. ให้ อสม. ค้าหาและติดตามเด็ก 0 – 5 ปีที่ไม่ได้รับบริการตามนัด 4. ติดตามเก็บตดกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับบริการ 5. ประเมินผลการและจัดทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ มีสุขภาพดี พัฒนาการเหมาะสมตามวัย
    1. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กอย่างถูกต้อง
    2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเด็กที่มีปัญหา ส่งผลให้ชุมชนมีการจัดการสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 16:30 น.