กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมประชาชนยุคใหม่เข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์
รหัสโครงการ 2561-L6896-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มพะยูนศรีตรัง จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 59,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจษฎาพรทองงาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ ปี 2560 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 440,000 คน และมีผู้ติดเชื้อรายใหม่กว่า 5,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 16 คน ถือเป็นตัวเลขที่ยังสูงไม่น้อย โดยผู้ได้รับการวินิจฉัยและรู้สถานการณ์ติดเชื้อตนเองประมาณ 430,000คน คิดเป็นร้อยละ 98 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่กำลังรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสกว่า 300,000 คน คิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้ติดเชื้อที่ได้รับการวินิจฉัย ขณะที่สถานการณ์โรคเอดส์ทั่วโลก พบว่า ในปี 2559 มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกสะสม 36,700,000 คนพบเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 1 ,800,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ 1,000,000 คน โดยมีผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้นจากปี 2553 และจังหวัดตรังรายงานผู้ป่วยรายแรก เมื่อปีพ.ศ.2533จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 มีรายงานผู้ป่วยเอดส์สะสม จำนวน4,758รายเสียชีวิตแล้วจำนวน1,677ราย (ร้อยละ 35.25) ยังคงมีชีวิตอยู่3,081ราย (ร้อยละ 64.75) และเมื่อปี2556- 2560อำเภอที่มีรายงานผู้ป่วยสูงสุดคือ อำเภอเมือง 59 ราย(ร้อยละ 27.8)รองลงมาคืออำเภอห้วยยอด43 ราย (ร้อยละ 20.3) และอำเภอกันตัง 31 ราย (ร้อยละ 14.6) ผู้ป่วยเอดส์ของจังหวัดตรังจำนวน 4,758รายแยกเป็นเพศชายจำนวน3,284 ราย (ร้อยละ 69.12) เพศหญิง จำนวน1,467ราย (ร้อยละ 30.88)อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิงเท่ากับ2.24 : 1 ผู้ป่วยเอดส์ของจังหวัดตรัง จำนวน4,758รายมีปัจจัยเสี่ยง จากเพศสัมพันธ์ 3,753 ราย (ร้อยละ78.9) ปัจจัยเสี่ยง จากการใช้ยาเสพติดชนิดฉีด329ราย(ร้อยละ 6.7)ติดเชื้อจากมารดา169ราย(ร้อยละ3.6) และอื่นๆ6 ราย(ร้อยละ0.1)และไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง501ราย(ร้อยละ10.5)
ดังนั้นกลุ่มพะยูนศรีตรังจังหวัดตรังได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กลุ่มพะยูนศรีตรังจังหวัดตรังเห็นว่ามีคนในชุมชนและเขตเทศบาลนครตรังอีกมากที่ยังไม่ทราบและตระหนักเกี่ยวกับเรื่องเอชไอวี /เอดส์ ยังเห็นเป็นเรื่องไกลตัว โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนทั่วไปที่คิดว่าตัวเองไม่เสี่ยงและไม่ทราบสถานะผลเลือดของตนเองก็ไม่สามารถที่จะป้องกันและดูแลตนเองได้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มทักษะการสื่อสารแก่แกนนำสามารถดูแลสุขภาพตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้

แบบสอบถามก่อน-หลังและแบบประเมินความพึงพอใจ 60%

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มประชาชนทั่วไปได้รับองค์ความรู้เรื่องเอชไอวี/เอดส์ เพื่อป้องกันตนเองในการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

แบบสอบถามก่อน-หลังและแบบประเมินความพึงพอใจ 60%

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 59,000.00 2 58,400.00
1 เม.ย. 61 จัดอบรมแกนนำเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย 0 12,100.00 12,100.00
1 มิ.ย. 61 - 31 ก.ค. 61 อบรมประชาชนยุคใหม่เข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ 2 รุ่น ๆ ละ 50 คน 0 46,900.00 46,300.00

• ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมงาน • ติดต่อประสานงานวิทยากรกระบวนการ • ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมอบรม • ติดต่อประสานงานสถานที่จัดหาวัสดุอุปกรณ์เตรียมเอกสาร • มีการประเมินก่อนและหลังการจัดอบรม • จัดอบรมแกนนำเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย • จัดอบรมประชาชนยุคใหม่เข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ • หลักสูตรเรื่องเอชไอวี/เอดส์ประกอบด้วย - กิจกรรมหลักการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี - กิจกรรมมุมมองที่แตกต่าง - กิจกรรมเลือกข้าง - ความรู้พื้นฐานเรื่องเอดส์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - หลักการวิเคราะห์ QQR - เกมแลกน้ำ ( การแพร่ระบาดของเชื้อ ) - รณรงค์ตรวจเลือดโดยสมัครใจ (VCCT) • สรุปรายงานผลการจัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

• แกนนำได้รับทักษะการสื่อสาร และสามารถนำไปถ่ายทอดได้ • ประชาชนทั่วไปได้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกัน • ประชาชนทั่วไปสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2561 08:59 น.