กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ แก้ไขปัญหาเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน
รหัสโครงการ 61-L3308-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านชะรัด
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2562 - 18 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 9,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภาขวัญ เศรษฐสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ก.ย. 2561 18 ก.ย. 2561 9,200.00
รวมงบประมาณ 9,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 218 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคอ้วนกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญและพบมากขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จนกระทั่งปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่วโลกแล้ว แต่เดิมเราคิดว่าโรคอ้วนเป็นโรคที่เป็นปัญหาเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่าโรคอ้วนและโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่เริ่มต้นจากวัยเด็กแล้วค่อยมีอาการแสดงเห็นชัดเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และอุบัติการณ์โรคอ้วนในเด็กก็เพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นเดียวกัน จากการวิจัยในประเทศไทยปี พ.ศ.2539 และ 2544 เด็กไทยวัยเรียนมีความชุกของโรคอ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 และ15.5 ตามลำดับภายในระยะเวลา 5 ปี
จากการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน (6 – 12 ปี) ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  บ้านชะรัด ประจำงวดที่ 4 (กรกฎาคม–กันยายน 2560) 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านต้นประดู่และโรงเรียนวัดควนขี้แรด พบเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์(น้ำหนัก/อายุ) จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 17.30  เด็กมีภาวะอ้วน(น้ำหนัก/ส่วนสูง) จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 12.56 จากจำนวนเด็กเด็กวัยเรียน (6 – 12 ปี)  จำนวน 422 คน ซึ่งโรคอ้วนหรือภาวะอ้วนจะส่งผลกระทบส่งผลต่อเด็ก เช่น การเคลื่อนไหวเชื่องช้า และหากเกิดการพลัดตกหกล้มจะเจ็บมากกว่าเด็กที่ไม่อ้วน กระดูก และข้อต่อเสื่อมสภาพเร็วกว่า เนื่องจากต้องรับน้ำหนักตัวมาก ส่งผลต่อภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น เนื่องจากเด็กอ้วนมักเกิดอาการนอนกรน บางรายมีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นร่วมด้วย และยังส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านชะรัด จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนและเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการร่างกายเด็กวัยเรียนให้มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และเพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ มีทักษะในการดูแลเด็กที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียน(6 – 12ปี) 2.เพื่อให้เด็กวัยเรียน(6 – 12ปี) มีพัฒนาการสมวัยและมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง

1.นักเรียน(6 – 12ปี) ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ร้อยละ 90 2.นักเรียน(6 – 12ปี) มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง 3.ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ มีทักษะในการดูแลเด็กที่ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 2,900.00 1 9,200.00
3 ธ.ค. 61 1. ประชุมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วน ทั้งด้านอาหารและการออกกำลังกาย ให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และเพิ่มทักษะในการดูแลให้กับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ในการดูแลส่งเสริมโภชนาการ 0 2,900.00 9,200.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ประชุมหารือเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการ เพื่อร่วมกันวางแผนและกำหนดกลวิธีในการดำเนินงาน - สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อทราบจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน - เขียนโครงการและเสนอโครงการไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองเฉลิมเพื่อพิจารณาและอนุมัติโครงการ
- สำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการจัดอบรม 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม - ดำเนินการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วน ทั้งด้านอาหารและการออกกำลังกาย ให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก     - ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม
    - ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย     - แบ่งกลุ่ม ศึกษา เพิ่มทักษะ
    - ผู้เข้าอบรมตอบแบบทดสอบความรู้หลังการอบรม 3. ดำเนินงานตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- ประเมินผลจากแบบทดสอบความรู้หลังการอบรม - ประเมินผลจากรายงานการติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียน หลังดำเนินการตามโครงการแล้ว 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน(6 – 12ปี) ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ร้อยละ 90
    1. นักเรียน(6 – 12ปี) มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง
  2. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุตรหลานได้ดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในระดับปฐมภูมิได้ด้วยตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2561 09:35 น.