กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านนาใส่ใจ ร่วมขจัดภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 477,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเมธี ศิริโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลบ้านนา อำเภอจะนะจังหวัดสงขลาและเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการระบาดตลอดปีและพบมากในฤดูฝนจากการสำรวจข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ลดลง ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตจากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของตำบลบ้านนา 5 ปี ย้อนหลัง พ.ศ. 2556, 2557, 2558, ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ (เดือน ม.ค. - ก.ย. ๒๕๖๐) พบว่าอัตรา 26.99, 883.82, 174.57, 339.36 และ ๒๐๔.๔๘ ต่อประชากรแสนคน(งานระบาดวิทยา สสอ.จะนะ) ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจะต้องไม่เกิน50ต่อแสนประชากรและต้องลดลง20%ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง5ปีจากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบางปีอัตราป่วยยังสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดอยู่มาก ดังนั้น การดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคไข้เลือดออก คือการป้องกันโรคล่วงหน้าซึ่งต้องดำเนินการก่อนการเกิดโรคหากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมโรคจะทำได้ลำบากและสูญเสียงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลจะนะ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดให้มีชาวบ้านนาใส่ใจ ร่วมขจัดภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา มีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการกับปัญหาโรคไข้เลือดออกของชุมชนเอง ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลบ้านนาไม่ให้เกินเป้าหมายที่กำหนด

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ของตำบลบ้านนา ลดลงเหลือไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้เรื่องโรค และวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากกว่าร้อยละ 80

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมตามหลัก 3 เก็บ

ชุมชนให้ความร่วมมือในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพและเคมีมากกว่าร้อยละ 80

0.00
4 ข้อที่ ๔ เพื่อสร้างความร่วมมือ และส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก

ประชากรเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมากกว่าร้อยละ 80

0.00
5 ข้อที่ ๕ ทีม SRRT มีความรู้และทักษะในการใช้/บำรุงรักษาเครื่องพ่นหมอกควันและละอองฝอย

ทีม SRRT มีความรู้และทักษะในการใช้และบำรุงรักษาเครื่องพ่นหมอกควันและละอองฝอยมากกว่าร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 477,200.00 0 0.00
19 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ ๑ รณรงค์ปรับปรุงกายภาพ (Big Cleaning) ย่อยรายหมู่บ้าน 0 167,000.00 -
19 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ ๒ การสร้างกระแสโรคไข้เลือดออกเชิงรุกในโรงเรียน (เขตเทศบาลตำบลบ้านนา) 0 61,600.00 -
19 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ ๓ อบรมฟื้นฟูศักยภาพทีม SRRT ตำบลบ้านนา 0 26,600.00 -
19 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ ๔ รณรงค์พ่นหมอกควัน/พ่นละอองฝอย กรณี เมื่อเกิดผู้ป่วย แบบเร่งด่วนต้องควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง 0 110,000.00 -
19 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ ๕ จัดซื้อวัสดุอื่นๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมรณรงค์ 0 112,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยเทศบาลตำบลบ้านนา ตัวแทน สสอ.จะนะ ผู้นำชุมชนตัวแทนโรงเรียนแกนนำอสม.และผู้มีจิตอาสา โดยเสนอสถานการณ์ระบาดโรคไข้เลือดออกและระดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหารวมทั้งกำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรม 2. จัดตั้งคณะทำงาน 3. เขียนโครงการนำเสนอขออนุมัติ 4. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สถานที่และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 5. ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ประชาสัมพันธ์โครงการ 7. ประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อนการดำเนินงาน

ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ ๑ รณรงค์ปรับปรุงกายภาพ (Big Cleaning) ย่อยรายหมู่บ้าน ๑. รวมพลคณะทำงาน/ภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องรับฟังคำชี้แจงจากผู้นำทีมเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ๒. ทีมงานแยกย้ายกันออกปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมายตามแผนที่วางไว้ ดังนี้ - ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น/และการเตรียมความพร้อมของบ้านและสถานที่ต่าง ๆ ก่อนการพ่นและการให้ประชาชนปฏิบัติตามหลัก 3 เก็บ ๓ โรค - สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน - ร่วมปฏิบัติการปรับปรุงทางกายภาพและพ่นเคมีหมอกควันและละอองฝอยในพื้นที่เป้าหมาย - แจกทรายอะเบทและเอกสารแผ่นผับเรื่องโรคไข้เลือดออก ๓. รถเทศบาลเก็บขยะตามแผนที่วางไว้ ๔. หลังปฏิบัติการรวมพลคณะทำงาน/ภาคีเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและหาโอกาสพัฒนาต่อไป

กิจกรรมที่ ๒ การสร้างกระแสโรคไข้เลือดออกเชิงรุกในโรงเรียน (เขตเทศบาลตำบลบ้านนา) 1. รวมพลคณะทำงาน/ภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องรับฟังคำชี้แจงจากผู้นำทีมเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามแผนที่วางไว้ 2. ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ - จัดบูธให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆที่พบบ่อยในโรงเรียน - ฐานบรรยายตอบคำถามเรื่องไข้เลือดออก - แจกเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก - แจกสารเคมีทรายอะเบท - แจกโลชั่นทากันยุง
- รณรงค์ทางกายภาพทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน 3. ประเมินระดับความพึงพอใจ 4. รวมพลคณะทำงาน/ภาคีเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและหาโอกาสพัฒนาต่อไป กิจกรรมที่ ๓ อบรมฟื้นฟูศักยภาพทีม SRRT ตำบลบ้านนา 1. อบรมเชิงปฏิบัติการ - ทดสอบความรู้ก่อน – หลัง การอบรม - ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่ 2. ให้ความรู้เรื่องการใช้ การผสมน้ำยา การดูแล การซ่อมบำรุง เครื่องพ่นหมอกควันและเครื่องพ่นละอองฝอย 3. กิจกรรมสาธิตย้อนกลับและประเมินผลเป็นรายบุคคล เรื่องการผสมน้ำยา การใช้เครื่องพ่นหมอกควันและเครื่องพ่นละอองฝอย 4. ประเมินระดับความพึงพอใจ

กิจกรรมที่ ๔รณรงค์พ่นหมอกควัน/พ่นละอองฝอย กรณี เมื่อเกิดผู้ป่วย แบบเร่งด่วนต้องควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง 1. ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดและคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมตัวรวมทั้งเตรียมความพร้อมของบ้านและสถานที่ ก่อนและหลังการพ่นหมอกควันและพ่นละอองฝอย 2. ดำเนินการพ่นหมอกควันและพ่นละอองฝอย 3. ดำเนินการพ่นในครัวเรือนและบริเวณรัศมี 100 เมตร เมื่อเกิดผู้ป่วย แบบเร่งด่วนต้องควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง 4. ประเมินระดับความพึงพอใจ

กิจกรรมที่ ๕จัดซื้อวัสดุอื่นๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมรณรงค์ ๑. สเปรย์กำจัดยุง (๒๐๐ cc)จำนวน5๐๐กระป๋อง ๒. สเปรย์ทากันยุง (๓๐ cc) จำนวน๕๐๐ขวด 3. โลชั่นทากันยุง (8 cc)จำนวน1,0๐๐ซอง 4. ทรายอะเบทจำนวน3ถัง 5. ชุดปฏิบัติการป้องกันสารเคมี จำนวน20ชุด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่
    1. ค่า HI และค่า CIลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนด
    2. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของเทศบาลตำบลบ้านนาลดลง
  3. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับดีขึ้นไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2561 14:05 น.