กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L4140-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุษฎีปาลกาลย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพะยา
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,101.162place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนับเป็นปัญหาการเจ็บป่่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัวมีอาการป่วยเรื้อรัง เป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมไปสู่ โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ "กรรมพันธุ" และ "lสิ่งแวดล้อม"ในส่วนของกรรมพันธฺุนั้นเป้นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีอายุมากขึ้นขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสื่ื่ยงที่เริ่่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่แม้กรรมพันธุ์จะเป้นส่ิงที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและส่ิงแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้จากผลการวิจัยหลายช้ิิ้นชี้ให้เห็นว่าการควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป้นประจำนั้นส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะคนที่ความเสียงสูงทางพันธุกรรมอีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมไปถึงป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้จากข้อมูลอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา ปี 2560 พบว่า ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด99รายได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือด 82 ราย รวบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเยี่ยม จำนวน 31รายพบกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงเขตรับผิดชอบ 317ราย ควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ดีเยื่่ยม จำนวน 163 รายหากไม่ไ้ดปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ในอนาคตกาiรักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอเพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไม่ถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมฝ่ายกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวาน ความดันหรือกิจกรรมชมรมอย่างสมำ่เสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่่องครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้ ดังนั้น รพ.สต.ลำพะยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยต่อโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง รพ.สต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลาปี 2561ขึ้นโดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่่างเข้มข้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรค

ระดับความรู้ของผู้เข้าประเมินจากแบบสอบถามเร่ืองการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสุขภาพจิตก่อนและหลังการอบรมเกณฑ์ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรํู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเพ่ิมขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการการออกกำลังกายเกณฑ์ร้อยละ 80 มีพฟติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องจากการติดตามหลังการอบรม2 เดือน

0.00
3 เพื่อผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถลดระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ระดับความดันโลหิตของผู้เข้าอบรมที่มีภาวะเสี่ยงลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 80 จากการตรวจติดตามหลังการอบรม 2 เดือน - ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เข้ารับการอบรมที่มีภาวะเสี่ยงลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 80จากตรวจติดตามหลังการอบรม 2 เดือน

0.00
4

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลำพะยา จำนวน 15,500 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 130 คน x 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 1วันเป็นเงิน6,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 130 คน x 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1วันเป็นเงิน6,500 บาท ค่าจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน1ป้ายเป็นเงิน1,000 บาท 4.ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน1 คนๆ x 5 ชม.ๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน1,500 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ระดับความรู้ของผู้เข้าประเมินจากแบบสอบถาม เรื่อง การดูแลสุขภาพด้านการออกกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสุขภาพจิตก่อนและหลังการอบรมเกณฑ์ร้อยละ 80ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น
  2. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่อง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตำบลด้านโภชนาการ การออกกำลังกายเกณฑ์ร้อยละ 80มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องติดตามหลังการอบรม 2 เดือน
  3. ระดับความดันโลหิตของผุ้เข้าอบรมที่มีภาวะเสี่ยงลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 80จากตรวจติดตามหลังการอบรม 2 เดือน 4.ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เข้าอบรมที่มีภาวะเสี่ยงลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 80 จากตรวจติดตามหลังการอบรม 2 เดือน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2561 14:42 น.