กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์เร็วไวเยี่ยมแม่ดูแลลูก เพื่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
รหัสโครงการ 60-L4131-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุไลลา ดะแซสาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 195 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคม และสติปัญญาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาชุมชนและสังคมให้สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง จากข้อมูลแสดงถึงสภาพปัญหาของงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง ปีงบ 2559 พบว่าทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า2,500กรัมจำนวน8รายสาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดามีน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน เตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธ์ให้มีความรู้ความเข้าใจในการวางแผนครอบครัว หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง งานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอัยเยอร์เวง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมแม่ ดูแลลูก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอดขึ้น ดังนั้น การที่จะลดปัญหาภาวะสุขภาพแม่และเด็กของตำบลบ้านอัยเยอร์เวงนั้น การดูแลหญิงตั้งครรภ์นั้น ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ตั้งแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา การให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนบุคคลที่มีบทบาทในชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถดูแลอนามัยของแม่และเด็กและอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด ตั้งแต่การค้นหาหญิงตั้งครรภ์ การแนะนำให้ไปฝากครรภ์ทุกคน และการคลอดในสถานบริการ ดังนั้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับปัญหาสุขภาพของแม่และเด็กและเพื่อแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กของตำบลอัยเยอร์เวง ที่สำคัญหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลติดตามโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล ตลอดจนการมีกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับหญิงตั้งครรภ์ และเกิดการพัฒนากลุ่มเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอัยเยอร์เวง ร่วมกับโรงพยาลบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านอัยเยอร์เวง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานอนามัยแม่และเด็ก จึงได้จัดทำโครงการฝากครรภ์เร็วไวเยี่ยมแม่ ดูแลลูก เพื่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ปีงบประมาณ 2560เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารก ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด สอดคล้องตามนโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้วัยเจริญพันธ์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ เกิดความตระหนักต่อการมารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ หรือมาฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ อย่างน้อยร้อยละ 60

 

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 95 และได้รับการติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัดทุกรายโดยอสม.และเครือข่ายสุขภาพ

 

3 เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดีลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย และไม่ตายด้วยสาเหตุที่ป้องกันได้

 

4 เพื่อกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์มาคลอดในสถานบริการและได้รับการส่งต่ออย่างปลอดภัย ตลอดจนได้รับการดูแลหลังคลอดตามมาตรฐานการดูแลหลังคลอดตามเกณฑ์ร้อยละ 92

 

5 ร้อยละของเด็กตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 6 เดือนแรกมีค่าเฉลี่ยกินนมแม่ อย่างเดียว เพิ่มเป็นร้อยละ 25 หรือเพิ่มขึ้นจากฐานข้อมูลเดิม ร้อยละ 2.5/ปี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ศึกษาข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธ์ สตรีตั้งครรภ์/แม่หลังคลอดในพื้นที่ 2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่พบ 3. จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา และนำเสนอเพื่อขออนุมัติ
4. จัดหาสื่อการสอน เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินกิจกรรม 5. ขับเคลื่อนคณะกรรมการ อนุกรรมการ ตามหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรม ขั้นดำเนินการ 1. สำรวจข้อมูล หญิงวัยเจริญพันธ์ที่แต่งงานแล้ว หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดที่มีเด็กแรกเกิด - 5 ปี สถานที่สำคัญของชุมชน โดยทีมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านอัยเยอร์เวง แกนนำอสม. 2. จัดเก็บข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์ หลังหญิงคลอด จัดทำทะเบียน ส่งต่อข้อมูล เพื่อการนำไปใช้สำรวจข้อมูลและการขับเคลื่อนโครงการ 3. จัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้และความเชื่อมั่นปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในวัยเจริญพันธ์ หญิงหลังคลอด สามี ครอบครัว ปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญนมแม่ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่
- อบรมให้ความรู้ในหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงหลังคลอด เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด 4. เยี่ยม ตามเกณฑ์ เพื่อสร้างความรู้และความเชื่อมั่นปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อที่ถูกต้องในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ การดูแลหลังคลอด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด สามี ปู่ ย่า ตา ยาย 5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ โดยทีม กำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการ โดยทีมกำกับติดตามและประเมินผลร่วมกับคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตำบลบ้านอัยเยอร์เวง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธ์ เกิดความตระหนักและมารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ หรือมาฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
  2. หญิงวัยเจริญพันธ์ที่ตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 และได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่องโดย อสม. และเครือข่ายสุขภาพ
  3. มารดาและทารก ได้รับการดูแลสุขภาพที่ได้มาตรฐานตั้งแต่การตั้งครรภ์ การคลอด และมีสุขภาวะที่ดีตามนโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย และไม่ตายด้วยสาเหตุที่ป้องกันได้
  4. หญิงตั้งครรภ์เกิดการตื่นตัวในการมาคลอดในสถานบริการและได้รับการส่งต่ออย่างปลอดภัย ตลอดจนได้รับการดูแลหลังคลอดตามมาตรฐานการดูแลหลังคลอดร้อยละ 92
    1. อัตราการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพิ่มเป็นร้อยละ 25 หรือเพิ่มขึ้นจากฐานข้อมูลเดิม ร้อยละ 2.5/ปี แม่และครอบครัวมีความเข้มแข็ง และส่งผลให้คุณภาพชีวิตเด็ก 0- 5 ปีดีขึ้น
    2. เด็กแรกเกิด – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90
    3. แม่ที่มีบุตรอายุ 0-6 เดือน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ 60
    4. หญิงวัยเจริญพันธ์ มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกทันทีเมื่อรู้ตัวรู้ว่าตั้งครรภ์
    5. ชุมชนมีระบบการดูแล เฝ้าระวัง อนามัยแม่และเด็กที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2560 14:04 น.