กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 31 พฤษภาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 56,712.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวณพัชญ์ปภาเกรียงไกรศักดิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.604,99.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 126 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปัจจุบัน พบว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกยังมีแนวโน้มการระบาดสูงขึ้นทุกปี และมีการแพร่ระบาดในเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทย จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของปี 2561 ( ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ) พบว่า ผู้ป่วยในระดับประเทศจำนวน2,526ราย อัตราป่วย 3.84 ต่อแสนประชากร และมีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 7 ราย อัตราป่วย – ตาย ร้อยละ 0.28 ระดับเขตบริการสุขภาพที่ 12 ( ตรัง , พัทลุง , สงขลา , สตูล , ยะลา , นราธิวาส และปัตตานี ) พบผู้ป่วยจำนวน 330 ราย อัตราป่วย 6.74 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจังหวัดตรังอยู่ลำดับที่ 13 ของประเทศ พบผู้ป่วย 47 ราย อัตราป่วย 7.32 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต อัตราป่วยในระดับอำเภอ พบว่า อำเภอที่มีอัตราผู้ป่วยสูงสุดคือ อำเภอวังวิเศษ จำนวน 13 ราย อัตราป่วย 29.82 ต่อแสนประชากร รองลงมาคืออำเภอสิเกา จำนวน 8 ราย อัตราป่วย 21.07 ต่อแสนประชากร และอำเภอหาดสำราญ จำนวน 2 ราย อัตราป่วย 11.92 ต่อแสนประชากรระดับตำบล ตำบลที่ผู้ป่วยมากที่สุดคือ ตำบลนาท่ามใต้ ตำบลนาโยงใต้ และตำบลนาบินหลาจากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ตำบลบ้านโพธิ์ มีผู้ป่วย ปี 2558 จำนวน 10 ราย อัตราป่วย 128.79 ต่อแสนประชากร ปี 2559 จำนวน 15 ราย อัตราป่วย 190.62 ต่อแสนประชากร และในปี 2560 พบผู้ป่วยจำนวน 11 ราย อัตราป่วย 139.11 ต่อแสนประชากรโดยจำแนกเป็นรายหมู่บ้านดังนี้ หมู่ที่ 5 บ้านต้นรัก หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งจันทร์หอม หมู่ที่ 3 บ้านบ่อมะพร้าว และหมูที่ 1 บ้านหัวถนน พบผู้ป่วย จำนวน 5,3,2,1 ราย ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 – 14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี และกลุ่มอายุ 5 – 9 ปี ช่วงเวลาที่พบการระบาดคือเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน ของทุกปี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน ร่วมช่วยกันรณรงค์ควบคุมโรคไข้เลือดออกพร้อมกันทุกครัวเรือน และกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก และมีสุขภาพอนามัยที่ดีแบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 56,712.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 61 ให้ความรู้แก่ประชาชนและรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย 0 56,712.00 -
  1. จัดทำโครงการเสนอต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์ เพื่อขออนุมัติ
    1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการแก่ ผู้นำชุมชน , สมาชิก อบต. , อสม. และแกนนำต่างๆ
  2. ประสาน และจัดเตรียมวัสดุสำหรับการณรงค์ โดยใช้รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ พร้อมแจกเอกสาร แผ่นพับ และทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  3. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน และรณรงค์ฯ ในแต่ละหมู่บ้านตามละแวกบ้านรับผิดชอบ ของ อสม.
    1. อสม.แต่ละหมู่บ้านออกสำรวจลูกน้ำยุงลายโดยใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลายตามละแวกบ้านที่ รับผิดชอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    2. ประเมินผลโครงการจากแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย และอัตราป่วยของคนในหมู่บ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
    • อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2561 13:57 น.