กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุ่งใหญ่พัฒนาการดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 60-L5215-1-1.4.3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งใหญ่
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี รอดอิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.154,100.612place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 มี.ค. 2560 21 มี.ค. 2560 23,050.00
รวมงบประมาณ 23,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคนและจากผลการตรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่งใหญ่ ปี 2559 พบเด็กมีปัญหา พัฒนาการล่าช้า ๓ ราย และผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เรื่องการประเมินและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กไทยเติบโตด้วยพัฒนาการที่สมวัย มีความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่งใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กทุ่งใหญ่พัฒนาการดี ชีวีมีสุขขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็ก สามารถ คัดกรอง ส่งเสริม และกระตุ้นพัฒนาการ บุตร หลานของตนเองให้สมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กปฐมวัย (อายุ0-5 ปี) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรคพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งใหญ่ มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) สามารถตรวจประเมินพัฒนาการบุตรหลานของตนตามช่วงวัย และสามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าให้สมวัยได้อย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กปฐมวัย (อายุ ๐-๕ ปี) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งใหญ่ มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)ร้อยละ ๙๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,050.00 1 23,050.00
21 มี.ค. 60 ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุ่งใหญ่พัฒนาการดี ชีวีมีสุข 0 23,050.00 23,050.00

1.ประชุมชี้แจงกรรมการ ผู้เกี่ยวข้องกับแนวทางดำเนินงานและวัตถุประสงค์
2.นำเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง 3.ดำเนินการจัดเตรียมคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) 4.จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย (อายุ 0-5 ปี) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่งใหญ่ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก สามารถตรวจประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)ได้อย่างถูกต้อง และมั่นใจ 2.เด็กปฐมวัยได้รับการประเมินพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกวิธีโดยผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็ก 3. เด็กปฐมวัยได้รับการเลี้ยงดูที่ดี และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างสมวัย 4. เด็กที่ตรวจพบพัฒนาการล่าช้า ได้รับการส่งต่อ และได้รับการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการอย่างสมวัยสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2560 13:52 น.