กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลวัดขนุน
รหัสโครงการ 61-L5270-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.วัดขนุน
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 102,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทัศวรรณ ขวัญหวาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.304,100.497place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2561 30 ก.ย. 2561 102,000.00
รวมงบประมาณ 102,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด ในแต่ละปี มีผู้ป่วยจำนวนมาก และบางรายถึงกับเสียชีวิต ก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรบุคคล เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทั้งๆที่โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ป้องกันได้ ข้อมูลรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จาก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค มีรายงานผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 มกราคม – 20 มีนาคม2561 จำนวน 4,847 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 7.36 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 8 รายสำหรับข้อมูลของจังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยสะสม จำนวน 206 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 14.57 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และตำบลวัดขนุน มีผู้ป่วย จำนวน 5 รายคิดเป็นอัตราป่วย 59.13 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จากสถานการณ์ดังกล่าว โรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่ อสม. ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุนจึงจัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อกำจัดตัวแก่ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราด้วยโรคไข้เลือดออก

จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลงจากเดิม

0.00
2 เพื่อป้องกันการเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก

ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 102,000.00 2 53,520.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมจัดซื้อทรายสารทีมีฟอส ,สเปรย์กำจัดยุง,โลชั่นกำยุง,ผลิตภัณฑ์น้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 0 48,000.00 44,220.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย กรณีเฝ้าระวัง เกิดโรค และกรณีควบคุมโรค 0 54,000.00 9,300.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทาง และระดมความคิดเห็นในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง

  2. ประสานงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

  3. จัดทำแผนการปฏิบัติงาน และกรอบตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน

  4. เขียนโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ

  5. จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแผนการพ่นหมอกควันในแต่ละหมู่บ้าน พร้อมแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก และให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

  6. จัดชื้อ สเปรย์กำจัดยุง ซื้อโลชั่นทากันยุง และทรายทีมีฟอส ให้แก่หมู่บ้านในตำบลวัดขนุน เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

  7. ลงพื้นที่ดำเนินการพ่นหมอกควันฆ่ายุงลายตัวเต็มวัย (กรณีเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรค)เฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกโดยการสำรวจหาค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย (HI ,CI) ในชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด และมัสยิด และการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในกรณีที่เกิดโรค

  8. มีการเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ชุมชน โดย อสม. เป็นแกนหลักในการเฝ้าระวังโรคพื้นที่เขตหลังคาเรือนที่ อสม.เป็นผู้รับผิดชอบ

  9. ส่งเสริมให้ประชาชนป้องกันตนเองจากการโดนยุงกัด โดยการนอนในมุ้งหรือทาโลชั่นกันยุง

  10. ดำเนินการพ่นหมอกควัน หรือพ่นละอองฝอยในโรงเรียนช่วงก่อนเปิดเทอม กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

  11. ดำเนินการพ่นสเปรย์กำจัดยุงตัวแก่ในบ้านผู้ป่วยทันทีหลังได้รับแจ้งมีผู้ป่วยไข้เลือดออก

  12. ดำเนินการพ่นหมอกควันหรือพ่นละอองฝอยในรัศมี 100 เมตร จากบ้านที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกครอบคลุมทุกหลังคาเรือน เพื่อควบคุมการระบาดของโรค

  13. ประเมินผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

  2. ไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก

  3. ประชาชนร่วมมือกันและมีพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอทำให้ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 11:25 น.