กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ แก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ปี2561
รหัสโครงการ 61-L4114-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเอะ
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 18,988.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟิตรียะห์แดเบาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกบินซึ่งทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลในร่างกาย หญิงมีครรภ์ถ้าขาดธาตุเหล็กทำให้กำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ กระทรวงสาธารณสุข มีความพยายามที่จะดำเนินการควบคุมป้องกันมาตลอดโดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน จากสถิติพบว่า อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเอะ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากร้อยละ ๒๐ ( ๒๐ คน ) ในปี๒๕๕๗ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๒๔.๒๔ ( ๒๔ คน )ในปี ๒๕๕๘ และร้อยละ ๓๔.๑๑ ( ๔๔ คน ) ในปี ๒๕๕๙ ขึ้นสูงเป็นอันดับ ๑ ของอำเภอกรงปินัง ซึ่งเป้าหมายกรมอนามัยกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ ๑๐ จากสถิติที่สูงขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีอัตราเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดได้ง่าย คลอด Low Birth Weigth

ดังนั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเอะ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดทำโครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ปี ๒๕๖๑ เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์คือด่านแรก ที่จะพบว่ามีปัญหาซีดระหว่างตั้งครรภ์มากที่สุด อันจะส่งผลกระทบต่อตัวหญิงตั้งครรภ์เองและลูกในครรภ์อีกด้วย โดยมุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยตนเอง อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,985.00 0 0.00
30 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 รณรงค์และประชาสัมพันธ์ 0 1,500.00 -
30 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 พัฒนาศักยภาพของหญิงตั้งครรภ์และแกนนำหมู่บ้าน 0 16,045.00 -
30 มี.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมปฏิบัติตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง 0 1,440.00 -

กลยุทธที่ ๑ กิจกรรมปฏิบัติตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางของ MCH Board - ผู้รับผิดชอบงานทบทวนและกำหนดแนวทางการปฏิบัติเรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ตามนโยบายของ สสจ.
- จ่ายวิตามินเสริมธาตุเหล็กแก่หญิงตั้งครรภ์ทุกรายตามความรุนแรงของภาวะโลหิตจาง - ประเมิน BMI และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ทุกครั้งที่มารับบริการตรวจครรภ์ และแนะนำรายบุคคลตามปัญหาที่พบ - นัดมาฝากครรภ์เพื่อให้ได้การฝากครรภ์คุณภาพ ยกเว้นในรายที่มีปัญหาที่ต้องติดตามจำแนกตามรายปัญหา - ติดตามเจาะความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์๒๔ สัปดาห์ เพื่อป้องกันและติดตามภาวะโลหิตจาง - ติดตามการมาฝากครรภ์ตามนัดและสม่ำเสมอ กรณีขาดนัด โทรศัพท์ติดตามและให้ อสม.ติดตามภายในวันดังกล่าว - ในรายที่มีปัญหาเรื่องภาวะโลหิตจางมาก ประสานกับแผนกฝากครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงของโรงพยาบาลเพื่อขอคำแนะนำหรือส่งต่อ - ติดตามภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์แต่ละเดือนเพื่อประเมินและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง กลยุทธที่ ๒ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ ประเด็นเรื่องการควบคุมภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นหลัก - จัดทำแผ่นพับเรื่องภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ - จัดทำโฟมบอร์ดความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ในเรื่องแนวทางควบคุมป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก,ผลกระทบการขาดธาตุเหล็ก,อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง กลยุทธที่ ๓ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของหญิงตั้งครรภ์และแกนนำหมู่บ้าน - ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางรายบุคคล เรื่องสาเหตุภาวะโลหิตจาง ผลเสียของการมีภาวะโลหิตจางต่อมารดาและทารก อาหารที่ควรรับประทาน การรักษาและการป้องกัน
- จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ รพ.สต.สะเอะ จำนวน ๓๖ รายและขยายเครือข่ายในหมู่บ้านโดยการจัดอบรมแกนนำเกี่ยวกับการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กหมู่บ้านละ ๖ คน จำนวน ๔ หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น ๖๐ รายเรื่องแนวทางควบคุมป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก,ผลกระทบการขาดธาตุเหล็ก,อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ภาวะซีดก่อนคลอดน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๑๐ ๒. เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดครบถ้วนทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๙๐ ๓. หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ ๔. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจเลือดดูภาวะโลหิตจางครั้งที่ ๒ คิดเป็นร้อยละ๙๐ ๕. หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับภาวะซีดและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและบุตรในครรภ์ได้ โดยสามารถทำข้อสอบหลังการอบรมให้ถูกต้องได้ไม่ร้อยกว่าร้อยละ๙๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 12:06 น.