กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L1478-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 3 ตำบลละมอ
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2018 - 31 สิงหาคม 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2018
งบประมาณ 9,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 นางปรานีเยาดำ 2 นางอาภรณ์ชูช่วง 3 นางถนัดทองคำแท้ 4 นางปนัสยาสมมี 5 นางรุ่งฤดีคงเล็ก
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรวดีด้วงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา พื้นที่ตำบลละมอเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออกหลายราย จากปีที่ผ่านมา ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยต้องใช้หลักการควบคุมโรคควบคู่กันไปทั้งด้าน กายภาพ ชีวภาพ และทางเคมี ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชาน องค์กรชุมชนให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน และในโรงเรียน

1.ค่า CI ในโรงเรียน มีค่าเท่ากับ 0 2.ค่า HI ในหมู่บ้าน มีค่าน้อยกว่า 10

100.00
2 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง น้อยกว่า 500 ต่อแสนประชากร

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,005.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 รณรงค์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนในพื้นที่พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน และโรงเรียน -รณรงค์โดยรถประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ครั้ง -เดินรณรงค์โดยอสม.,ผู้นำชุมชนและนักเรียน จำนวน 3 ครั้ง -แจกแผ่นพับให้ความรู้ -แจก 0 9,005.00 -
1 เม.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 ประเมินโครงการโดยการสำรวจ HI , CI 0 0.00 -
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. รณรงค์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนในพื้นที่พร้อมทำลาย แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน และโรงเรียน
    • รณรงค์โดยรถประชาสัมพันธ์ จำนวน 1 ครั้ง
    • เดินรณรงค์โดยอสม. ,ผู้นำชุมชนและนักเรียน จำนวน 3 ครั้ง
    • แจกแผ่นพับให้ความรู้

- แจกทรายอะเบท 3. ประเมินผลโครงการโดยการสำรวจค่า HI , CI

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
2. ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน และในโรงเรียนลดลง 3. มีภาคีเครือข่ายร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2018 13:23 น.