กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5260-05-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการ รักษาราชการแทน หัวหน้าสำนักปลัด
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กันยายน 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวขวัญหทัย ชูเท้า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.634,101.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8845 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมไว้ 5 ประเภท ซึ่งได้ระบุให้ประเภทที่ 5 ไว้ในกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสาธารณภัย ภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมายได้ทุกพื้นที่ของประเทศและยังพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคติดต่อ อุบัติใหม่ อุบัติช้ำมีเพิ่มขึ้น เช่น โรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง ไทรอยด์ มือบาทเท้าเปื่อยและไข้หวัดนก ฯลฯ ทั้งนี้สาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการได้แก่การเปลี่ยนแปลงของมรสุมและพฤติกรรมของประชาชน การเดินทางเคลื่อนย้ายของประชากร การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ตัวเชื้อโรค ภาวะโลกร้อน ทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางและที่พบบ่อยทุกปี คือปัญหาหมอกควันไหม้มาจากประเทศอินโดนีเซียและปัญหาทางน้ำท่วมขัง ซึ่งตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำและโรคติดต่อนำโดยสัตว์นำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ ยุง ฯลฯ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในเขตตำบลเปียน ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเปียน ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน จึงได้ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ เพื่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้างและให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติต่างๆด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ปีงบประมาณ 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาในกลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือ เท้า ปากระบาด

ร้อยละ 90 ของจำนวนเด็กที่ได้รับการแก้ปัญหาจากโรคมื้อเท้าปาก

0.00
3 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวการณ์ระบาดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำและโรคติดต่อต่างๆ เช่น โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง โรคปวดข้อยุงลาย(ซิดุนกุนย่า) โรคไข้เลือดออก ฯลฯ

ร้อยละ 90 ของประชาชนที่ได้รับการแก้ปัญหาผลกระทบการระบาดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำและโรคติดต่อต่างๆ

0.00
4 เพื่อแก้ไขปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ จากภาวะหมอกควันไฟไหม้ป่า อุทกภัย

ร้อยละ 90 ของประชาชนที่ได้รับการแก้ไขปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาความเดือดร้อน จากภาวะหมอกควันไฟไหม้ป่า และภาวะอุทกภัย

0.00
5 เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลและป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนได้รับความรู้และดูแลป้องกันตัวเองได้อย่างถูกต้อง    ร้อยละ 80

0.00
6 เพื่อให้มีวัสดุ อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ ที่จำเป็นเพียงพอและทันเหตุการณ์
  • มีวัสดุ อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นเพียงพอและทันต่อสถานการณ์
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินการเขียนโครงการ เพื่อขออนุมัติ
    1. ติดตามสถานการณ์และรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรง
    2. ติดต่อ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    3. ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน/อสม. เพื่อวางแผนการป้องกันและควบคุมสถานการณ์ การเกิดภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ
    4. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ให้เพียงพอและทันต่อสถานการณ์ การป้องกันและควบคุม
    5. ดำเนินการประชุม อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่และติดตามเยี่ยมประเมินสุขภาพของประชาชน
    6. ดำเนินการป้องกัน ควบคุมโรคระบาดและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
    7. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จ
    8. สรุป ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไข
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมและแก้ไขปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
    1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
    2. มีการประสานความร่วมมือภาครัฐและประชาชนในการแก้ไขปัญหา
    3. ลดความรุนแรงของปัญหาด้านสาธารณสุข อัตราการป่วยและอัตราการตายลงได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 15:07 น.