กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลายห่างไกลไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L5221-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 33,202.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาครบุญนำ
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 พ.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 3,877.00
2 1 มิ.ย. 2561 30 มิ.ย. 2561 21,325.00
3 1 ส.ค. 2561 31 ส.ค. 2561 8,000.00
รวมงบประมาณ 33,202.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 157 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
32.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดเว้น2ปี สถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข ณ 9 มกราคม 2561 พบว่ามีผู้ป่วยโรคติดต่อไข้เลือดออกทั้งหมด 5,3190 ราย คิดเป็นอัตราป่วย80.80ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวน 63 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.12 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคใต้อัตราป่วย 136.28 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 12,696 รายรองลงมาได้แก่ ภาคกลางมีอัตราป่วยสูงที่สุดเท่ากับ 92.35 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 20,481 และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 243.79 ต่อประชากรแสนคน แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี
จังหวัดสงขลาพบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาเป็นอันดับ1 ของประเทศ ในปี2560 จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อสาธารณสุขจังหวัดสงขลา พบว่ามีผู้ป่วยโรคติดต่อไข้เลือดออกทั้งหมด 3,009 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 212.80 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.35 จากสำนักงานระบาดจังหวัดสงขลา ณ 9 มกราคม 2561 และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่10-14 ปี อยู่ที่ร้อยละ 243.79 ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยกิจกรรม5 สเป็นกลยุทธ์อีกวิธีหนึ่งที่เน้นให้ประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชุมชนกิจกรรมที่ทำแล้วเห็นผลเร็วและชัดเจนจึงมีแนวคิดที่จะมีการดำเนินกิจกรรม 5 สได้แก่สะสางสะดวกสะอาดสุขลักษณะ และสร้างนิสัยเพื่อสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือของประชาชน องค์กร หน่วยงานต่างๆ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี จากข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ พบว่าในปี2559 ผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 8 ราย ปี2560 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 18 ราย และปี2561 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 57.44 ต่อแสนประชากร และจาการสำรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เดือนมกราคม ปี2561 จำนวน 1,597 หลังคาเรือน พบลูกน้ำยุงลาย 148 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 9.80 ดังนั้นทางชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน จึงได้จัดทำโครงการบ้านสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลายห่างไกลไข้เลือดออก และเพื่อไม่ให้มี การระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้ประชาชนมีความใส่ใจต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรอบบ้านไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ร้อยละ 50 ไม่พบลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือน

0.00
2 2. เพื่อลดปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ร้อยละ 70 ประชาชนในชุมชนห่างไกลโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,836.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน พ.ค –ก.ย 2561 โดยอสม. 0 4,836.00 -
26 เม.ย. 61 จัดอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนครัวเรือน ผู้นำชุมชน สมาชิกอบต.เรื่องการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และโรคไข้เลือดออก 0 0.00 -
20 - 24 ส.ค. 61 มอบสติ๊กเกอร์"บ้านนี้สะอาดปลอดภัยจากไข้เลือดออก" 0 5,000.00 -

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน 1.2 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ 1.3ประสานกลุ่มเป้าหมาย 1.4ประสานวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ 2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนครัวเรือน ผู้นำชุมชน สมาชิกอบต.เรื่องการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และโรคไข้เลือดออก 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับหาแนวทางในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน 2.2 ประชาสัมพันธ์ให้ลูกบ้านดูแลความสะอาดภายในบ้านและสภาพแวดล้อมนอกบ้าน 2.3 มีการลงตรวจบ้านและสำรวจลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ครั้งโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือน 2.4 มอบสติ๊กเกอร์"บ้านนี้สะอาดปลอดภัยจากไข้เลือดออก" ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1สรุปผลการจากการสำรวจลูกน้ำยุงลาย 3.2 สรุปผลจากผู้ป่วยไข้เลือดออกในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้านชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง
  2. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  3. สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2561 17:12 น.