กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การป้องกัน และแก้ไขปัญหาซีดในหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 61-L3027-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูมและบ้านจาเราะบองอ
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 114,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสารีผะ มะเกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.314place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน พบปัญหาอัตราการเกิดและการมีชีวิตอยู่รอดของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ระดับประเทศตั้งเป้าหมายไม่เกินร้อยละ 5 แต่พบว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนอยู่ที่ ร้อยละ 15 พบว่ามีค่าที่เกิดอยู่ 3 เท่า ขณะที่องค์การอนามัยโลกกำหนดอยู่ที่ร้อยละ 2.5 นับเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญของการทำงานด้านสาธารณสุข ดังนั้นงานอนามัยของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่จึงเป็นตัวบ่งชี้สภาวะสุขภาพที่มักถูกหยิบยกขึ้นเป็นตัวสะท้อนการพัฒนาด้านสุขภาพของประเทศอยู่เสมอ เพราะส่วนหนึ่งการเสียชีวิตของแม่ที่คลอดบุตรเป็นตัวบ่งบอกความเป็นอยู่ของแม่และเด็ก ของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ รวมถึงความเพียงพอของสถานบริการด้านสุขภาพด้วยสถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในเขตพื้นที่ภาคใต้ปี 2559 โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีความน่าเป็นห่วงเข้าขั้นวิกฤตอยู่มาก เหตุเพราะอัตราส่วนการตายของมารดายังเป็นปัญหาสาธารณสุขในระดับพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยพบสูงสุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส คิดเป็นร้อยละ 82.81, 67.43 และ 63.93 ต่อแสนคนในการเกิดมีชีวิต ตามลำดับ (เกณฑ์มาตรฐาน ไม่ควรเกิน ร้อยละ 5 ต่อแสนคนในการเกิดมีชีวิต)นอกจากนี้ ยังพบว่า มารดาขาดสารอาหาร และมีภาวะซีดในขณะตั้งครรภ์ โดยในปี 2556 ภาพรวมของประเทศ พบว่ามารดาที่มีภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 17.1 โดยพบสูงสุดที่จังหวัดปัตตานี ร้อยละ 98.4 รองลงมาได้แก่นราธิวาส 17.2 และยะลา 16.1 ตามลำดับ (เป้าหมายที่กำหนด ไม่ควรเกินร้อยละ 10) ส่งผลต่อทารกแรกคลอด อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดและคลอดมาแล้วน้ำหนักน้อยส่วนสถานการณ์ทารกแรกคลอดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ยังมีทารกจำนวนมากที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติอย่างมาก (เกณฑ์น้ำหนักแรกคลอดต้องไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม) ซึ่งภาพรวมของประเทศ ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม อยู่ที่ร้อยละ 7.8 โดยอัตราสูงสุดอยู่ที่จังหวัดยะลา ร้อยละ 9.5 รองลงมาได้แก่ นราธิวาส 7.4 และปัตตานี 6.7 ทั้งนี้สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ในบริบทของสูติศาสตร์สมัยใหม่ และมีเพียงน้อยรายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจากสถานการณ์สถิติที่น่าเป็นห่วง สะท้อนถึงปัญหางานอนามัยแม่และเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ควรได้รับการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ว่าตำบลเขาตูมยังไม่พบอัตราการตายของมารดาและทารก แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลถึงความปลอดภัยของอนามัยแม่และได้ ซึ่งรพ.สต.ในพื้นที่ตำบลเขาตูมมี 2 รพ.สต.คือ รพ.สต.เขาตูม มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้านและ รพ.สต.บ้านจาเราะบองอ รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน จากการวิเคราะห์ของผลงานความครอบคลุมของงานอนามัยแม่และเด็กพบว่า ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก นับเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของตำบลเขาตูม มีผลงานต่ำกว่าเกณฑ์หลายตัวชี้วัด เมื่อปีงบประมาณ 2559พบว่าอัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ รพ.สต.เขาตูม ร้อยละ 62.64 รพ.สต.บ้านจาเราะบองอ ร้อยละ 66.67 จากเกณฑ์ร้อยละ 75 และได้ดำเนินโครงแก้ปัญหาดังกล่าวแล้วเสร็จสิ้นเมื่อ 30 กันยายน 2560 พบว่าผลงานการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ รพ.สต.เขาตูม ร้อยละ80.70 รพ.สต.บ้านจาเราะบองอร้อยละ 83.58 ซึ่งเห็นได้ว่าผลการดำเนินงานตามโครงการปี 2560 มีผลงานเพิ่มขึ้นและประสบความสำเร็จ แต่ปัญหาแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ได้รับการดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ รพ.สต.เขาตูม ร้อยละ 64.91รพ.สต.จาเราะบองอ ร้อยละ 69.14จากเกณฑ์ร้อยละ 95 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด รพ.สต.เขาตูม ร้อยละ 24.06รพ.สต.บ้านจาเราะบองอ ร้อยละ 40.38จากเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10พบว่ายังเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไขต่อไป จึงเป็นที่มาของโครงการฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์ของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ตำบลเขาตูมอำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี ปี 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง

250.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาซีดมีความรู้เกี่ยวกับอาหารเสริมธาตุเหล็กได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มีความรู้เกี่ยวกับอาหารเสริมธาตุเหล็กได้ถูกต้อง

250.00
3 หญิงตั้งครรภ์รายใหม่พบปัญหาซีดขณะตั้งครรภ์ลดลง

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่พบปัญหาซีดขณะตั้งครรภ์ลดลงร้อยละ 5 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 3 ปี

250.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

-กลวิธีป้องกันปัญหาซีดในหญิงตั้งครรภ์

  1. ประชุมชี้แจงอสม.กลุ่มเป้าหมายเพื่อวางแผนในการดำเนินงานในพื้นที่พร้อมให้ความรู้การดูแลหญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ไปจนถึงการดูแลแม่และเด็กหลังคลอด 45 วัน
  2. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

  3. ติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยอสม. ดังนี้

-อสม.ค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ต้องการตั้งครรภ์ เพื่อให้คำแนะนำ และส่งต่อรพ.สต.

-อสม.ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในพื้นที่ เพื่อส่งต่อรพ.สต. และให้คำแนะนำด้านสุขภาพ

-อสม.ติดตามหญิงตั้งครรภ์รายเก่าเพื่อให้ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

  1. ให้ความรู้การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี


    -กลวิธีเพื่อแก้ปัญหาซีดในหญิงตั้งครรภ์

  2. ให้ความรู้เฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด(ที่เกิดจากขาดธาตุเหล็กไม่รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ที่ซีดจากพาหะ หรือโรคธาลัสซีเมีย) และสามี โดยนักโภชนากร เรื่องอาหารเสริมธาตุเหล็ก และอาหารที่ไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งสาธิตเมนูอาหารเสริมธาตุเหล็กที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันตามบริบทพื้นที่

  3. อสม.ติดตามการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพ ได้แก่พฤติกรรมการกินยา พฤติกรรมการทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก พฤติกรรมหลีกเลี่ยงอาหารที่ลดการดูซึมธาตุเหล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนกระทั้งระดับ HCT เพิ่มขึ้นจนถึงระดับปกติ

  4. ติดตามเจาะ HCT ทุก 1 เดือน

  5. ทำสรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่พบปัญหาซีดขณะตั้งครรภ์ลดลงร้อยละ 5 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 3 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2561 10:34 น.