กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและสารปนเปื้อนในอาหาร อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและสารปนเปื้อนในอาหาร อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L1468-1-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 กันยายน 2561 - 4 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2561
งบประมาณ 32,176.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธนพร ฉีดเนียม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.402,99.549place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ก.ย. 2561 4 ก.ย. 2561 4 ก.ย. 2561 4 ก.ย. 2561 32,176.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 32,176.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาทิเช่น อาหาร ยา เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการดำรงชีวิตของมนุษย์ถ้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากสารเคมีที่เป็นอันตรายและการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ก่อโรคย่อมส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพของผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศทำให้ภาครัฐสามารถประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาประชาชนที่เจ็บป่วยได้
เครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอกันตัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการกำกับดูแลและควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความปลอดภัย จึงได้ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 และจากข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ โดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย ในระหว่างปี 2557-2559 จากหน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารศูนย์ 12 สงขลา ทำให้ทราบว่าปัญหาการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้สด และการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ในยากลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ จากสถานการณ์นี้จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคในเขตตำบลบางเป้า มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากอาหารและยากลุ่มเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการกำกับดูแล เฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร และการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ในยากลุ่มเสี่ยงทั้งแบบเชิงรุก ซึ่งเป็นการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การตรวจวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในผักและผลไม้สด การตรวจวิเคราะห์สารสเตียรอยด์ในยากลุ่มเสี่ยง และแบบการตรวจเฝ้าระวังเชิงรับซึ่งเป็นการตรวจเฝ้าระวังตามแผนเฝ้าระวังประจำปีที่นอกเหนือจากแผนปฏิบัติการของหน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารศูนย์ 12 สงขลาซึ่งจะดำเนินการตรวจเฝ้าระวังประจำทุกปีๆละ 2 ครั้ง เท่านั้น
ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า เห็นควรพัฒนารูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ให้เกิดระบบการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพด้านสุขภาพในพื้นที่ และสามารถแจ้งเตือนภัยด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน อันสนองตอบต่อวัตถุประสงค์หลักของรัฐบาล ในการที่จะให้ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,750.00 1 32,176.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายต่างๆจากสารปนเปื้อนในอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 0 9,750.00 32,176.00

๑ ประชุมชี้แจงโครงการ ๒ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
๓ ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและสารปนเปื้อนในอาหาร ๔.ปฏิบัติการทดสอบสารอันตรายด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและสารปนเปื้อนในอาหาร ๕. สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดระบบการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ที่มีมาตรฐาน และสามารถแจ้งเตือนภัย ด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2561 13:27 น.