กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมอฟันน้อย เครือข่าย รพ.สต.เปียน ฟันดี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L5260-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปียน
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาอีซะ มุณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.634,101.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้ง 8 พ.ศ.2560 ของกรมอนามัยซึ่งดำเนินการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศทุก 5 ปี ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2520 สำหรับการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้ง 8 พ.ศ.2560 และสำรวจพฤติกรรมการบริโภคของเด็กที่นิยมกินอาหารหรือขนมที่หาซื้อได้ง่าย เช่น เครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2559 พบว่าเด็กอายุ 12 ปี ร้อย 70 มีพฤติกรรมกินขนมกรุบกรอบ ละเฉลี่ยวันละ 1 ครั้ง พฤติกรรมเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็กแล้วยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร มีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโตและบุคลิกภาพของเด็ก ที่สำคัญคือ ส่งผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียน และปัญหาฟันผุนำไปสู่การสูญเสียฟันในเด็ก และอาจสะสมจนต้องสูญเสียฟันทั้งปากในวัยผู้สูงอายุ ผลจากการสำรวจล่าสุดในครั้งที่ 7 ปี 2555 พบว่า ประสบการณ์ฟันน้ำนมในเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 51.7 และเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 78.5 ส่วนเด็กวัยเรียนและเยาวชนอายุ 12 ปี และ 15 ปีพบว่า ร้อยละ 52.3 มีประสบการณ์การเกิดโรคฟันแท้ผุ โดยปัจจัยที่มีผลกระทบตรงต่อภาวะปริทันต์ของเด็ก คือการแปรงฟัน     จากการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปียน ตั้งแต่ปี 2559-2560 พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุคิดเป็นร้อยละ 15.56 และ 39.39 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ายังไม่ครอบคลุมตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข คือ ร้อยละ 54 เนื่องจาก กลุ่มเป้าหมายยังขาดความตระหนักในการแปรงฟัน รวมทั้งส่วนใหญ่มีพฤติกรรมกินขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ซึ่งโรคในช่องปากทุกคนสามารถป้องกันได้ถ้าหากมีความรู้ ความเข้าใจทางด้านทันตสุขภาพที่ถูกต้องและมารับการตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อรับคำแนะนำและรับการรักษาทางทันตกรรม ดังนั้นการดำเนินงานทันตสุขภาพให้ประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพจึงต้องมีการบูรณาการงานด้านทันตสาธารณสุขเข้าเป็นหนึ่งในงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน เน้นกระตุ้นให้นักเรียนตระหนักการดูแลช่องปากตนเอง โดยการพัฒนาศักยภาพนักเรียน สร้างแกนนำนักเรียนหมอฟันสวย ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำและกระตุ้นกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันที่โรงเรียน ตลอดจนเกิดนักเรียนต้นแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียน จึงเป็นที่มาในการทำโครงการหมอฟันน้อยสวย เครือข่าย รพ.สต.เปียน ฟันดี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ปี 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสุขภาพช่องปาก

แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้เกิดกิจกรรมการแปลงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันที่โรงเรียน

นักเรียนมีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันที่โรงเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อสร้างต้นแบบในการดูแลสุขภาพช่องปากในโรงเรียน

เกิดต้นแบบคู่หูฟันสวยในโรงเรียนๆละ 1 คู่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นก่อนวิธีการดำเนินงาน   1.ขั้นก่อนดำเนินการ     1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง องค์กรชุมชน เพื่อสำรวจข้อมูล/วิเคราะห์และวางแผนดำเนินงาน     1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ     1.3 ชี้แจง/ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครูที่รับผิดชอบงานอนามัยนักเรียน     1.4 ประชาสัมพันธ์โครงการ     1.5 โรงเรียนคัดเลือกแกนนำนักเรียนหมอฟันน้อย   2.ขั้นการดำเนินการ     2.1 นัดหมายการให้ความรู้แกนนำนักเรียนหมอฟันน้อย     2.2 ดำเนินกิจกรรม     กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำนักเรียนหมอฟันน้อย     - ดำเนินการอบรมแกนนำนักเรียนหมอฟันน้อย แบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ โดยมีเนื้อหาอบรมดังนี้         -เรื่องโรคในช่องปาก         -การตรวจความสะอาดของสุขภาพช่องปาก         -การฝึกทักษะในการทำความสะอาดช่องปาก         -สรุปผลการอบรม     กิจกรรมที่ 2 การแปรงฟันหลังอาหารทุกวันที่โรงเรียน         -แกนนำนักเรียนหมอฟันน้อยมีการบันทึกการแปรงฟันหลังอาหารทุกวันที่โรงเรียน มีการสรุปผลส่ง รพ.สต.ทุกเดือน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบลงไปติดตามทุก 3 เดือน     กิจกรรมที่ 3 ต้นแบบคู่หูฟันสวย         -โรงเรียนส่งตัวแทนคู่หูฟันสวย โรงละ 1 คู่ เป้าหมาย 3 โรง ได้แก่ 1.โรงเรียนบ้านท่า 2.โรงเรียนอุทยานอุทิศ 3.โรงเรียนบ้านควนหรัน   3.ขั้นหลังดำเนินการ     3.1 วิเคราะห์/รายงานผลการดำเนินงาน     3.2 ประเมินผลโครงการ     3.3 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ     3.4 รายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเปียนมีการแปรงฟันก่อนนอนที่บ้านทุกคืน
  2. เด็กอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2561 11:13 น.