กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค้นหาวัณโรคในชุมชน
รหัสโครงการ 61-L5284-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 8 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 พฤศจิกายน 2561
งบประมาณ 7,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมหมาด นุ่งอาหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.764,100.101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 682 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 407 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค(TUBERCULOSIS) หรือทั่วไปมักเรียกว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium Tuberculosis บางครั้งเรียกว่า เอเอฟบี (AFB,acid fast bacilli) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่การอักเสบจากเชื้อวัณโรคจะเกิดในปอดที่เรียกว่า วัณโรคปอด แต่ก็สามารถเกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง และลำไส้ ในสมัยก่อนผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่จะเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันวัณโรคสามารถรักษาด้วยยาจน หายขาดได้ การติดเชื้อวัณโรคแตกต่างจากการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ เพราะเชื้อโรคสามารถอยู่ในตัวผู้ป่วยโดยไม่มีอาการได้นานๆเรียกว่า วัณโรคระยะแฝง ซึ่งทั่วโลกมีผู้ป่วยวัณโรคระยะ แฝงประมาณ 2,000 ล้านคน โดย 10% ของวัณโรคระยะแฝงจะเกิดเป็นโรควัณโรคปอดภายใน 10 ปี หลายคนคิดว่าเป็นโรคซึ่งแทบจะหมดไปแล้วจากประเทศไทย แต่ สถานการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยยังมีความน่าเป็นห่วงอุบัติการณ์ของการติดเชื้อวัณโรครายงานเมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2555 จากสำนักโรค กระทรวง สาธารณสุข คือ 137 รายต่อประชากร 1 แสนคนหรือประมาณ 90,000 รายต่อปี (ในการนี้ เป็นเชื้อดื้อยาประมาณ 1,900 ราย) เสียชีวิต 16 รายต่อประชากร 1 แสนคน และผู้ป่วยวัณโรคติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 15% จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีปัญหาในเรื่องการให้การรักษาวัณโรคภายใต้ระบบการกำกับการกินยา (DOTs) ซึ่งผู้มีหน้าที่กำกับการกินยาส่วนใหญ่จะเป็นญาติผู้ป่วย การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยไม่ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน ขาดการควบคุมกำกับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การให้ความรู้เรื่องวัณโรคในระดับชุมชนยังขาดความสำคัญและมีการดำเนินกิจกรรมการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อในเชิงรุกน้อย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคในระดับพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่ อสม.เฉพาะคลอบคลุมทุกหมู่บ้าน

ร้อยละ 80 ของ อสม. มีเครือข่ายการเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคในระดับพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่ อสม.เฉพาะคลอบคลุมทุกหมู่่บ้าน

0.00
2 2.เพื่อคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่กลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยง ได้รับคัดกรองวัณโรค

0.00
3 3.เพื่อสร้างความตระหนักและจิดสำนึกในการป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคในพื้นที่

ร้อยละ 80 ของ อสม. มีความตระหนักและจิดสำนึกในการป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคในพื้นที่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง 2.จัดเตรียมการประชุมตามวาระที่กำหนด 3.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดจากสร้างเครือข่ายการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคในระดับพื้นที่โดยมีเจ้าหน้าที่คลอบคลุมทุกสถานบริการในอำเภอควนโดน 2.มีการเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อโรคโดยเน้นในกลุ่มเสี่ยงและสัมผัสใกล้ชิด 3.ประชาชนเกิดความตระหนักและจิตสำนึกในการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมวัณโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 10:14 น.