กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม
รหัสโครงการ 61-L5284-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านกุบังปะโหลด
วันที่อนุมัติ 8 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางถนอมสิน หิรัญสถิตย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.764,100.101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำเป็นจะต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องดูแล รักษาอย่างต่อเนื่อง มีค่าใช้จ่ายที่สูงแลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยของการเกิดโรคประกอบไปด้วยหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง สภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมตะวันตกภาวการณ์ทำงานที่เร่งรีบ เป็นต้น ส่งผลให้ประชาชนมีภาวะเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้ สามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยอาศัยหลัก 3อ2ส วึ่งในสถานการณ์โรคไม่ติดต่อในปัจจุบัน รพ.สต.บ้านกุบังปะโหลด มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 41 คน ความดันโลหิตสูง 209 คน ผู้ป่วยที่เป็นทั้งความดันและเบาหวาน 50 คน โดย โรคความดันโลหิตสูงมีอัตราเพิ่มจากปี 2560 ร้อยละ 3.82 โรคเบาหวาน เพิ่มร้อยละ 7.31 และจากผลการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง 35 ปีขึ้นไป พบว่า มีประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 73 ราย โรคเบาหวาน 35 ราย ดังนั้น ทาง รพสต.บ้านกุบังปะโหลด จึงได้จัดทำ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ในปีงบประมาณ 2561 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มป่วยด้วยโรคเรื้อรังและประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยมีการดึงภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมดูแลสุขภาพในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง เพื่อหามาตรการข้อตกลงในการร่วมดูแลสุขภาพในชุมชน เพื่อเป็นการช่วยให้กลุ่มป่วยควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิต กลุ่มเสี่ยงอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (ในกลุ่มเสี่ยง)1.เพื่อลดผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่

(กลุ่มเสี่ยง) 1.ผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ลดลงร้อยละ 5

0.00
2 2.เพื่อลดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่

2.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ลดลงร้อยละ 8

0.00
3 3.เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ.2ส.

3.ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ในเรื่อง 3อ2ส เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
4 4.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส. ที่พึงประสงค์ของคนไทย

4.กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส. ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยกองสุขศึกษา ร้อยละ 100

0.00
5 (กลุ่มป่วย) 5.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลได้

(กลุ่มป่วย) 5.ผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมน้ำตาลได้ดีมากกว่าร้อยละ 40

0.00
6 6.เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้

6.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควบคุมความดันโลหิตสูงได้ดีมากร้อยละ 50

0.00
7 7.เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ2ส

7.ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ในเรื่อง 3อ2ส เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
8 8.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส ที่พึงประสงค์ของคนไทยโดยกองสุขศึกษา

8.กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยกองสุขศึกษา ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ระยะเตรียมการ 1.1ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่าย ชี้แจงแผนงานโครงการ เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ จัดทำสื่อ เอกสาร เพื่อการประชาสัมพันธ์และการดำเนินงาน 1.2ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อชุมชนและหน่วยบริการ 1.3จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย การบันทึกข้อมูล 2.ระยะดำเนินการ 2.1ประชุมแกนนำด้านสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ภาคีเครือข่าย กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย เพื่อหาข้อตกลงในการร่วมกันดูแลสุขภาพในชุมชนโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม
2.1.1 ให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ2ส ทั้งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย 2.1.2 ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส ที่พึงประสงค์ของคนไทย 2.1.3ติดตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 2.1.4ติดตามกลุ่มป่วยโดยการวัดความดันโลหิตทุก 1 เดือน กลุ่มเบาหวานเจาะน้ำตาลทุก 3 เดือน 2.1.5จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย 2.1.6บันทึกข้อมูลลงโปรแกรมของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(JHCIS) ของหน่วยบริการเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลและแฟ้มชุมชนเพื่อการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ 2.2พัฒนา ปรับปรุง การดำเนินงานในคลินิกด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.2.1จัดทำกระบวนงานและขั้นตอนการให้บริการในคลินิกด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.2.2จัดกิจกรรม ออกกำลังกาย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย 2.2.3จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ของบุคคลต้นแบบที่เข้าร่วมในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.2.4ติดตาม การดูแลสุขภาพในชุมชน 2.2.5การสร้างกฎกติกาหมู่บ้าน 3.ระยะประเมินผล 3.1ประเมินผลจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3.2ประเมินผลความรู้ จากแบบประเมินในการอบรมเชิงปฏิบัติการ และแบบสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ 3.3ประเมินผลจากพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย ที่เข้ารับบริการในคลินิก ในระยะเวลา 1 เดือน (ของโครงการ) 3 เดือน และ 6 เดือน (เป็นการติดตามต่อเนื่องจากโครงการ) 3.4ประเมินผลผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 40 จากการตรวจสุขภาพประจำปี จากผล HBA1C ไม่เกิน 7 3.5ประเมินผลผู้ป่วยความดันสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ร้อยละ 50 ในระยะเวลา 1 ปีในคลินิก 3.6ประเมินผลอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5 จากการคัดกรองปีละ 1 ครั้ง 3.7ประเมินผลอัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เกินร้อยละ 8 จากการคัดกรองปีละ 1 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ลดลงไม่เกิน ร้อยละ 5 2.จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 8 3.จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีมากกว่าร้อยละ 40 4.จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมความดันโลหิตสูงได้ดีมากร้อยละ 50 5.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ 6.มีกลุ่มการออกกำลังกาย 7.มีกฎกติกาหมู่บ้าน 8.ผู้ป่วยได้รับการติดตามและประเมินสุขภาพทุก 3 เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 10:30 น.