กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 60-L4142-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลิดล
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 เมษายน 2561 - 20 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2561
งบประมาณ 30,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสปีน๊ะมะเร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอุสมานแวหะยี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิดล อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.551,101.166place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (30,900.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเจ็บป่วยเรื้อรังกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลกและประเทสไทย การเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาของบุคคลที่เกิดขึ้นอย่างถาวรไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สังคม ครองครัวต้องรับภาระดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้ดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป ถ้าหากการดูแลผู้ป่วยใช้เวลายาวนานทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลและเศรษฐกิจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมและวิธีการดำเนินชีวิตซึ่งสามารถป้องกันและปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งพบว่ามีอัตราอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างเร็ว ในประเทศที่กำลังพัฒนา จากผลการคัดกรองสุขภาพโดยอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิดล ปีงบประมาณ 2560 ในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ตำบลลิดล จำนวน 2,003 คน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 473 คน คิดเป็นร้อยละ 23.61 ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้หากยังคงพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป อาจกลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังในอนาคตต่อไป ทั้งนี้จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพด้วยแบบสำรวจตนเตือนตน 3อ 2ส พบพฤติกรรมเสี่ยง 3 อันดับแรกได้แก่ หนึ่งไม่ออกกำลังกาย หรือไม่ออกกำลังกายไม่ต่อเนื่อง จำนวน 274 คน คิดเป็นร้อยละ84.04 สองกินผักน้อยกว่าครึ่งโลกรัมต่อวัน จำนวน 226 คน คิดเป็นร้อยละ 81.59 และสามกินอาหารรสเค็ม จำนวน 243 คนคิดเป็นร้อยละ 74.53 จากจำนวนที่สำรวจที่สำรวจทั้งหมด 326 คน จากข้อมูลผุ้ป่วยโรคเรื้อรัง ตำบลลิดลมีผู้ป่วยเรื้อรังทั้งหมด 475 คน โดยแยกเป็นโรคเบาหวาน 124 คน และความดันโลหิตสูง 351 คน ในจำนวนนี้สามารถมาควบคุมความดันได้ดีจำนวน 117 คนคิดเป็นร้อย 42.7 และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีคิดเป็นร้อยละ 11.7 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ ปัญหาสำคัญของโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้คืน การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ดังนั้น เพื่อพัฒนาระบบการบริการด้านส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรัง ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงปี 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 50 มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 20 มีภาวะสุขภาพดีขึ้น 3.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานอย่างน้อยร้อยะ 40 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 4.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อยร้อยละ 60 สามารถควบคุมคุมระดับความดันโลหิตได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30.00 0 0.00
12 พ.ย. 61 โครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงปี 2561 0 30.00 -

กลุ่มเสี่ยง -คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงจำนวน 50 คน เข้าร่วมอบรม - นัดตรวจสุขภาพเป็นระยะทุก 2 สัปดาห์ - จัดตั้งชมรมออกกำลังกายตำบลลิดล - จัดมหกรรมรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง มีกิจกรรมประกวดและสาธิตเมนูสุขภาพ การแลกเปลี่ยนความรู้จากคนต้นแบบที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำเร็จในปี 2560 จัดแสดงจำหน่ายพืชผักภูมิปัญญาท้องถิ้น - เมืครบ 6 เดือน ประเมินสุขภาพกลุ่มเสียงที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อคัดเลือกผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำเร็จ พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตร - กลุ่มป่วย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 50 มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น 2.กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 20 มีภาวะสุขภาพดีขึ้น 3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อยร้อยละ 60 สามารถควบคุมควบคุมระดับความดันโลหิตได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 10:53 น.